หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 17
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 17
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 17
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556
พากันดูดีๆ นะพระเรา พิจารณาปฏิสังขาโย อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเรารีบสร้างความรู้ตัว รู้กาย รู้ใจ รู้วิญญาณในกายของเรา รู้ความปกติ จะลุก จะก้าว จะเดิน ความรู้ตัวจะพลั้งเผลอ เราก็เริ่มอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเข้าห้องส้วมห้องน้ำจนกระทั่งออกไปบิณฑบาต ลุกขึ้นก้าวแรกความรู้สึกอยู่ที่ฝ่าเท้า เข้าห้องส้วมห้องน้ำความรู้สึกอยู่ที่ความปกติ หรือว่าอยู่ที่ปลายจมูก สร้างความรู้ตัว
ความรู้ตัวพลั้งเผลอ สติพลั้งเผลอแล้วก็เริ่มขึ้นมาใหม่ ฝึกให้เกิดความเคยชินจนเป็นอัตโนมัติ ช่วงฝึกใหม่ๆ หรือไม่เข้าใจ มันก็มีความพลั้งเผลอ พลั้งเผลอแล้วก็ปล่อยปละละเลย ก็เลยพลาดโอกาสรู้ ลักษณะของจิตของวิญญาณ วิญญาณในกายของเราปรุงแต่งอย่างไร เริ่มก่อตัวอย่างไร ความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมาได้อย่างไร ตัววิญญาณเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เมื่อเขาไปรวมกันแล้วเราถึงรู้ว่าเราคิด บางทีคิดไปจนกระทั่งจบเรื่องนั่นแหละ
ความหลง หลงอยู่ในความรู้ หลงอยู่ในความเกิด บางทีก็เจือปนด้วยอำนาจของความทะเยอทะยานอยากของตัวใจ ของตัววิญญาณอีก เราต้องพยายามสาวเข้าไปหาต้นเหตุ มีความรู้ตัวที่ชัดเจน หรือว่าสติที่ชัดเจน รู้ใจที่ชัดเจน รู้อาการของใจของความคิดที่ชัดเจน มีเรื่องเดียวที่จะต้องศึกษากันในชีวิตให้ถึงจุดหมายปลายทาง ไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลย แต่ละวันจิตใจปรุงแต่งส่งออกไปมีแต่เรื่องของคนอื่น เรื่องคนโน้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น คนนั้นไม่ดีคนนี้ไม่ดี มีแต่จิตโง่ๆ จิตที่ไม่ดีเท่านั้นแหละที่มันคิดไปอย่างนั้น ต้องมาแก้ไขตัวของเรา ปรับปรุงตัวของเรา ให้รู้จักละ รู้จักพิจารณา รู้จักแก้ไข
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี ให้มีความสมัครสมานสามัคคี ความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้เป็นเอกให้เป็นหนึ่ง ยิ่งอยู่ร่วมกันเยอะๆ ยิ่งเพิ่มความเมตตาให้มากๆ เพิ่มความเสียสละให้มากๆ ความรักความสมัครสมานสามัคคีกัน ไม่ใช่ว่าจะคอยตั้งแต่ทิ่มแทงกัน กูดีมึงไม่ดี มีอัตตาตัวตนนั่นแหละ พยายามรีบแก้ไขเสีย ถ้ามีอยู่ในใคร พยายามแก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเรา ทุกคนก็เป็นพี่เป็นน้อง เป็นเพื่อนกันแก่เจ็บตายด้วยกันถึงได้มาอยู่ร่วมกัน มีอะไรก็คอยช่วยเหลือกัน ไม่ดีก็รีบแก้ไข ถ้ามันดีก็พยายามเพิ่มให้มันดียิ่งๆ ขึ้นไป
เรามาฝึก มาศึกษาตัวเรา แก้ไขตัวเรา ทำอย่างไรเราถึงจะลดละมานะ ละทิฎฐิ ละกิเลส ละความยึดมั่นถือมั่น ทำใจให้เป็นเอกให้เป็นหนึ่ง ปราศจากกิเลส ปราศจากการเกิดดับ เราต้องพยายามให้ถึงจุดหมาย ทำความเข้าใจให้กระจ่าง เมื่อเรารู้ความจริงแล้ว เราก็ทำความเข้าใจกับสมมติ เราอยู่ร่วมกับสมมติ หนีสมมติไม่พ้นหรอกเพราะว่ากายเป็นก้อนสมมติ โน่นน่ะหมดลมหายใจนั่นแหละถึงจะได้ทิ้งสมมติ
การชำระสะสางกิเลสภายใน เราก็พยายามละ เป็นเรื่องของเรา คนอื่นจะมาละกิเลสให้เราก็ไม่ได้ เราเพียงแค่ทำความเข้าใจให้ถูกวิธี แนวทางนั้นมีอยู่แล้ว พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วก็เอามาเปิดเผย การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ การละกิเลสเป็นอย่างนี้นะ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้นะ ส่วนกิเลสหยาบๆ นั้นก็คงจะมีกันเบาบาง กิเลสละเอียดความคิด ความกังวล ความฟุ้งซ่าน พวกมลทินต่างๆ นี่แหละ มันละได้ยาก ถ้าเราไม่มีความเพียรจริงๆ
เราก็ต้องพยายามคอยลด คอยละ คอยแก้ไข ปรับปรุงตัวเรา สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน สร้างข้าวพกข้าวห่อติดตามตัวเราไป ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ เราก็ต้องพยายามแก้ไขตัวเราเอง ยิ่งมาอยู่ร่วมกันหลายคนหลายท่านก็ยิ่งเพิ่มความระมัดระวัง รู้จักสำรวมวาจาของเรา สำรวมใจของเรา คนทั่วไปวาจาก็ไม่รู้จักรักษา ใจมันก็ยิ่งยากเข้าไปอีก
เพียงแค่ระดับของสมมติก็ยังทำสมมติไม่บริบูรณ์ ทางด้านวิมุตติก็ยากที่จะปล่อยที่จะวางได้ ในหลักธรรมบุคคลที่มีสติ มีปัญญา มีความเพียร มีศรัทธาพร้อม การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นอย่างนี้ การเอาออกการให้เป็นอย่างนี้ สมมติอะไรเราขาดตกบกพร่อง เราก็จะได้รีบแก้ไขให้สมบูรณ์แบบ เราก็จะอยู่มีความสุข สมมติเราก็ไม่ได้ลำบากก็ส่งผลถึงด้านจิตใจ จิตใจก็ปล่อยก็วางได้เร็วได้ไว เพราะว่าไม่ได้ดิ้นรนทางสมมติ แต่เราก็บริหารสมมติของเราให้ดี อะไรไม่ดีเราก็พยายามรีบละ รีบแก้ไข ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ทำให้บริบูรณ์ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่
หลวงพ่อก็จะพยายามทำไปเรื่อยๆ เท่าที่โอกาสอำนวยให้ ทั้งสมมติ ทั้งการตั้งโรงทาน ทุกเสาร์ วันเสาร์หรือวันอาทิตย์ หลวงพ่อก็จะให้ตั้งโรงทานไปเรื่อยๆ นับตั้งแต่เสาร์นี้แหละขึ้นไปเรื่อยๆ ให้ตั้งโรงทาน ให้ญาติโยมพากันทำ ใครไปใครมาก็จะได้ไม่ได้ลำบาก ได้อิ่ม มีโอกาสพวกเราก็ได้มาอยู่ร่วมกัน พยายามความเป็นระเบียบเรียบร้อย รู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ไม่ใช่ว่าอยู่ด้วยกันก็คอยตั้งแต่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่ว่าพระว่าชี มีแต่นิสัยของคนโง่ ที่จะไปคอยอคติ คอยเพ่งโทษคนโน้นคนนี้ เราพยายามแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ทำอย่างไรจิตใจของเราถึงจะมีความสุขเรา แล้วก็ล้นความสุขออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่เพื่อนสู่ฝูง
มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา กายของเราก็ไปร่วมสมมติให้ใจรับรู้ ไม่ให้อคติ จนใจของเราไม่เกิดนั่นแหละ ใจไม่เกิดก็มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา ให้ปัญญาไปเกิดแทน แม้แต่ปัญญาถ้าเป็นอกุศลเราก็ยังให้ดับอีก ให้หยุดอีก ให้เจริญเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งไหนไม่เป็นประโยชน์ สิ่งไหนที่ไร้สาระเราก็ไม่ให้เกิด เราควบคุมจัดการบริหารทั้งวิญญาณ ทั้งปัญญาของเราให้เรียบร้อย รอตั้งแต่ธาตุขันธ์แตกดับเท่านั้นเอง เพราะว่าทุกคนเกิดมาก็ถึงจุดหมายปลายทางกัน คือความตาย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นกฏของไตรลักษณ์ กฎของธรรมชาติ
เราต้องพยายามเข้าถึงตัววิญญาณ ดับความเกิดของวิญญาณ คลายความหลงของวิญญาณเสียก่อน ก่อนที่ธาตุขันธ์จะแตกจะดับ เพราะว่าความจริงมีทุกอย่างที่พระพุทธองค์ได้ค้นพบ แล้วก็เอามาเปิดเผย วันพรุ่งนี้มี มะรืนนี้มี เดือนหน้ามี ปีหน้ามี พ่อแม่มีครูบาอาจารย์มี เรามา มาพิจารณาดูตัวว่าจริตของเราว่าจริตของเราเป็นอย่างไร ใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความแข็งกระด้าง มีความตระหนี่เหนียวแน่น หรือว่ามีความเกียจคร้าน เราต้องพยายามกำจัดออกให้หมด
ยิ่งบวชเป็นพระเป็นชีถ้ามีความเกียจคร้านแล้ว ใช้การไม่ได้ ต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรให้เป็นเลิศ มีสติมีปัญญารอบรู้ในดวงจิต รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในขันธ์ห้าของตัวเราเอง รอบรู้ในการชำระสะสางกิเลสออกจากใจตัวเรา กิเลสหยาบกิเลสละเอียดทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เวลาขบเวลาฉันก็เหมือนกัน กายเราหิวหรือใจของเราเกิดความอยาก การน้อมเอกลาภเข้ามาหาตัวเอง เราก็ต้องพยายามแก้ไขปรับปรุง อย่าเป็นทาสของกิเลส จงเป็นนาย เจริญสติปัญญา เป็นนายเหนือใจเรา นอกนั้นก็มีตั้งแต่อานิสงส์อยู่ในระดับของสมมติ เรายังให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ทำบุญจนเต็มเปี่ยม จนล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่เพื่อนสู่ฝูง เทวดาก็ร้อน อยากจะมาร่วมบุญด้วย จะทำอะไร จะคิดอะไร เทวดาก็ไม่ให้ลำบาก
ตั้งใจรับพรกัน
เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกก็พอ ไม่ต้องตามไปถึงท้อง เวลาลมหายใจเข้าก็มีความระลึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ นี่แหละในหลักธรรมที่ท่านว่า ‘สติ’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ เรามาสร้างความรู้ตัวตรงนี้ให้ต่อเนื่อง
ส่วนใจนั้นเขาก็เกิด เขาก็คิด เรื่องโน้นเรื่องนี้ ถ้าเรามีความรู้ตัวอยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่อง เราก็จะเห็นลักษณะการเกิดของวิญญาณหรือว่าของใจ เวลาเขาจะก่อตัว เขาจะเริ่มเกิด แต่เวลานี้เขาเร็วเขาไวเรารู้ไม่ทันหรอก เพราะว่ากำลังสติของเรามีน้อย เขาคิดปรุงแต่งไปสารพัดเรื่อง บางทีก็คิดเรื่องโน้นคิดเรื่องนี้ เขาคิดขึ้นมาเองนั่นแหละ เพราะความเคยชินของเขา
ความหลงของเขา เขาถึงเกิด ปรุงแต่ง แล้วก็มีอาการของขันธ์ห้า ซึ่งอยู่ในกายของเรา ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดนี่แหละบางทีก็ผุดขึ้นมา โดยใจก็เคลื่อนเข้าไปรวมเป็นตัวเดียว แล้วก็ไปด้วยกัน มันหลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่ บุคคลที่ไม่มีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องไม่แหลมคม ไม่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ ก็ยากที่จะสังเกตเห็นตรงนี้ ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง เราก็ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ เขาเรียกว่า ‘สมถะ’
สมถภาวนา ‘สมถะ’ ใจของเราจะกลับมาอยู่กับลมหายใจ มันวิ่งไปแล้วมันเกิดแล้วเราฉุดเข้ามา ไปแล้วฉุดเข้ามา กำลังสติของเราก็จะเข้มแข็งขึ้น ใจของเราก็จะช้าลงๆๆ จนกว่าใจของเราจะคลาย พอคลายออกใจก็จะว่างโล่ง โปร่ง กายก็จะเบา เราก็จะเห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ท่านเปรียบเอาไว้เหมือนกับพยับแดดหรือลูกคลื่น เวลาเข้ากระทบฝั่งก็แตกสลายหายไป เวลาเราเดินตามถนนหนทาง เวลาแดดร้อนๆ เหมือนกับมีเปลวเพลิง มองเห็นเหมือนกับมีตัวมีตน เราเข้าไปแล้วมันก็ไม่มีตัวมีตนนั้นแหละ ตัวใจของเราก็ไปหลงเอาความคิดตรงนี้ ทำให้เกิดอัตตาตัวตน ทำให้กายก็หนัก ใจก็หนัก แถมใจก็ยังเกิดกิเลสอีก บางทีก็เป็นมลทิน บางทีก็เป็นอกุศล บางทีก็เป็นกุศล สารพัดเรื่องอยู่ในกายของเรา
ถ้าเรามาเจริญสติให้ต่อเนื่องเข้าไปสังเกตให้รู้ตั้งแต่ต้นเหตุ ให้เห็นตั้งแต่ต้นเหตุ คลายออกตั้งแต่ต้นเหตุ เราก็จะมองเห็นความเป็นจริง แล้วตามดู รู้เห็นตามความเป็นจริง เข้าใจคำว่าอัตตา เข้าใจคำว่าอนัตตา เข้าใจคำว่าสมมติวิมุตติ ให้เห็นตรงจุดนี้ให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยตามทำความเข้าใจให้ได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าจะไปนึกเอาไปคิดเอา ถึงจะนึกคิด พิจารณาในธรรม แต่ความหลงก็ยังเข้าครอบงำอยู่ เพราะว่ายังเป็นกิเลสธรรมอยู่ นอกจากบุคคลที่มาคลายออก ตัววิญญาณพลิกหงายคลายออกตามดูทุกเรื่อง ให้ใจของเรา ให้วิญญาณของเรายอมรับความเป็นจริงได้ นั่นแหละ ไม่ใช่ว่าแยกแยะได้ ทำความเข้าใจได้ แล้วเราก็ปล่อยปละละเลย มันก็ซึมเข้าสู่สภาพเดิม เราก็ต้องพยายามเด็ดขาดๆ ให้ได้จริงๆ
ถ้าหลวงพ่อจะพูดบอกว่า ถ้าหลวงพ่อไม่คิดมา 30 ปีแล้ว ทุกคนคงไม่เชื่อ เพราะมันเป็นอย่างนั้น เพราะรู้เห็นแล้วก็ทำความเข้าใจ ไม่ปล่อยปละละเลย ทั้งจิตทั้งสติปัญญา แล้วรีบแก้ไข ขยันหมั่นเพียร ให้ได้ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ไม่ได้เลือกกาลเลือกเวลา จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ในการละกิเลส ตัวไหนมันเกิดขึ้น เราก็พยายามละตัวนั้นนั่นแหละ กิเลสตัวไหนมันเกิดขึ้น เราก็พยายามดับ แล้วทำความเข้าใจแก้ไข ทั้งภายนอกแก้ไขทั้งภายใน ก็ต้องพยายาม มันไม่เหลือวิสัยหรอก ถ้าเรารู้แล้วเห็นแล้ว หมดความสงสัยใน ภายในของเราแล้ว ตรงกับคำสอนของพระพุทธองค์
เปรียบเทียบกับกาลกับเวลา ตั้งแต่ก่อนกับเดี๋ยวนี้ กิเลสของเราเบาบางลงไปเยอะไหม เรารู้จักละกิเลสออกจากใจของเราได้ ได้มากน้อยเท่าไร ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เราแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราเป็นเรื่องของเรา ส่วนความเป็นอยู่ร่วมกันก็มีตั้งแต่ความสมัครสมานสามัคคี ความเมตตา อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้หน้าที่ ทำหน้าที่ของเราให้ดี ทำหน้าที่ของเราให้ถูก ไปที่ไหนก็จะมีตั้งแต่ความสุขความเจริญกัน ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556
พากันดูดีๆ นะพระเรา พิจารณาปฏิสังขาโย อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเรารีบสร้างความรู้ตัว รู้กาย รู้ใจ รู้วิญญาณในกายของเรา รู้ความปกติ จะลุก จะก้าว จะเดิน ความรู้ตัวจะพลั้งเผลอ เราก็เริ่มอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเข้าห้องส้วมห้องน้ำจนกระทั่งออกไปบิณฑบาต ลุกขึ้นก้าวแรกความรู้สึกอยู่ที่ฝ่าเท้า เข้าห้องส้วมห้องน้ำความรู้สึกอยู่ที่ความปกติ หรือว่าอยู่ที่ปลายจมูก สร้างความรู้ตัว
ความรู้ตัวพลั้งเผลอ สติพลั้งเผลอแล้วก็เริ่มขึ้นมาใหม่ ฝึกให้เกิดความเคยชินจนเป็นอัตโนมัติ ช่วงฝึกใหม่ๆ หรือไม่เข้าใจ มันก็มีความพลั้งเผลอ พลั้งเผลอแล้วก็ปล่อยปละละเลย ก็เลยพลาดโอกาสรู้ ลักษณะของจิตของวิญญาณ วิญญาณในกายของเราปรุงแต่งอย่างไร เริ่มก่อตัวอย่างไร ความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมาได้อย่างไร ตัววิญญาณเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เมื่อเขาไปรวมกันแล้วเราถึงรู้ว่าเราคิด บางทีคิดไปจนกระทั่งจบเรื่องนั่นแหละ
ความหลง หลงอยู่ในความรู้ หลงอยู่ในความเกิด บางทีก็เจือปนด้วยอำนาจของความทะเยอทะยานอยากของตัวใจ ของตัววิญญาณอีก เราต้องพยายามสาวเข้าไปหาต้นเหตุ มีความรู้ตัวที่ชัดเจน หรือว่าสติที่ชัดเจน รู้ใจที่ชัดเจน รู้อาการของใจของความคิดที่ชัดเจน มีเรื่องเดียวที่จะต้องศึกษากันในชีวิตให้ถึงจุดหมายปลายทาง ไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลย แต่ละวันจิตใจปรุงแต่งส่งออกไปมีแต่เรื่องของคนอื่น เรื่องคนโน้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น คนนั้นไม่ดีคนนี้ไม่ดี มีแต่จิตโง่ๆ จิตที่ไม่ดีเท่านั้นแหละที่มันคิดไปอย่างนั้น ต้องมาแก้ไขตัวของเรา ปรับปรุงตัวของเรา ให้รู้จักละ รู้จักพิจารณา รู้จักแก้ไข
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี ให้มีความสมัครสมานสามัคคี ความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้เป็นเอกให้เป็นหนึ่ง ยิ่งอยู่ร่วมกันเยอะๆ ยิ่งเพิ่มความเมตตาให้มากๆ เพิ่มความเสียสละให้มากๆ ความรักความสมัครสมานสามัคคีกัน ไม่ใช่ว่าจะคอยตั้งแต่ทิ่มแทงกัน กูดีมึงไม่ดี มีอัตตาตัวตนนั่นแหละ พยายามรีบแก้ไขเสีย ถ้ามีอยู่ในใคร พยายามแก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเรา ทุกคนก็เป็นพี่เป็นน้อง เป็นเพื่อนกันแก่เจ็บตายด้วยกันถึงได้มาอยู่ร่วมกัน มีอะไรก็คอยช่วยเหลือกัน ไม่ดีก็รีบแก้ไข ถ้ามันดีก็พยายามเพิ่มให้มันดียิ่งๆ ขึ้นไป
เรามาฝึก มาศึกษาตัวเรา แก้ไขตัวเรา ทำอย่างไรเราถึงจะลดละมานะ ละทิฎฐิ ละกิเลส ละความยึดมั่นถือมั่น ทำใจให้เป็นเอกให้เป็นหนึ่ง ปราศจากกิเลส ปราศจากการเกิดดับ เราต้องพยายามให้ถึงจุดหมาย ทำความเข้าใจให้กระจ่าง เมื่อเรารู้ความจริงแล้ว เราก็ทำความเข้าใจกับสมมติ เราอยู่ร่วมกับสมมติ หนีสมมติไม่พ้นหรอกเพราะว่ากายเป็นก้อนสมมติ โน่นน่ะหมดลมหายใจนั่นแหละถึงจะได้ทิ้งสมมติ
การชำระสะสางกิเลสภายใน เราก็พยายามละ เป็นเรื่องของเรา คนอื่นจะมาละกิเลสให้เราก็ไม่ได้ เราเพียงแค่ทำความเข้าใจให้ถูกวิธี แนวทางนั้นมีอยู่แล้ว พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบแล้วก็เอามาเปิดเผย การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ การละกิเลสเป็นอย่างนี้นะ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้นะ ส่วนกิเลสหยาบๆ นั้นก็คงจะมีกันเบาบาง กิเลสละเอียดความคิด ความกังวล ความฟุ้งซ่าน พวกมลทินต่างๆ นี่แหละ มันละได้ยาก ถ้าเราไม่มีความเพียรจริงๆ
เราก็ต้องพยายามคอยลด คอยละ คอยแก้ไข ปรับปรุงตัวเรา สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน สร้างข้าวพกข้าวห่อติดตามตัวเราไป ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ เราก็ต้องพยายามแก้ไขตัวเราเอง ยิ่งมาอยู่ร่วมกันหลายคนหลายท่านก็ยิ่งเพิ่มความระมัดระวัง รู้จักสำรวมวาจาของเรา สำรวมใจของเรา คนทั่วไปวาจาก็ไม่รู้จักรักษา ใจมันก็ยิ่งยากเข้าไปอีก
เพียงแค่ระดับของสมมติก็ยังทำสมมติไม่บริบูรณ์ ทางด้านวิมุตติก็ยากที่จะปล่อยที่จะวางได้ ในหลักธรรมบุคคลที่มีสติ มีปัญญา มีความเพียร มีศรัทธาพร้อม การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นอย่างนี้ การเอาออกการให้เป็นอย่างนี้ สมมติอะไรเราขาดตกบกพร่อง เราก็จะได้รีบแก้ไขให้สมบูรณ์แบบ เราก็จะอยู่มีความสุข สมมติเราก็ไม่ได้ลำบากก็ส่งผลถึงด้านจิตใจ จิตใจก็ปล่อยก็วางได้เร็วได้ไว เพราะว่าไม่ได้ดิ้นรนทางสมมติ แต่เราก็บริหารสมมติของเราให้ดี อะไรไม่ดีเราก็พยายามรีบละ รีบแก้ไข ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ ทำให้บริบูรณ์ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่
หลวงพ่อก็จะพยายามทำไปเรื่อยๆ เท่าที่โอกาสอำนวยให้ ทั้งสมมติ ทั้งการตั้งโรงทาน ทุกเสาร์ วันเสาร์หรือวันอาทิตย์ หลวงพ่อก็จะให้ตั้งโรงทานไปเรื่อยๆ นับตั้งแต่เสาร์นี้แหละขึ้นไปเรื่อยๆ ให้ตั้งโรงทาน ให้ญาติโยมพากันทำ ใครไปใครมาก็จะได้ไม่ได้ลำบาก ได้อิ่ม มีโอกาสพวกเราก็ได้มาอยู่ร่วมกัน พยายามความเป็นระเบียบเรียบร้อย รู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ไม่ใช่ว่าอยู่ด้วยกันก็คอยตั้งแต่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่ว่าพระว่าชี มีแต่นิสัยของคนโง่ ที่จะไปคอยอคติ คอยเพ่งโทษคนโน้นคนนี้ เราพยายามแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ทำอย่างไรจิตใจของเราถึงจะมีความสุขเรา แล้วก็ล้นความสุขออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่เพื่อนสู่ฝูง
มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา กายของเราก็ไปร่วมสมมติให้ใจรับรู้ ไม่ให้อคติ จนใจของเราไม่เกิดนั่นแหละ ใจไม่เกิดก็มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมดา ให้ปัญญาไปเกิดแทน แม้แต่ปัญญาถ้าเป็นอกุศลเราก็ยังให้ดับอีก ให้หยุดอีก ให้เจริญเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งไหนไม่เป็นประโยชน์ สิ่งไหนที่ไร้สาระเราก็ไม่ให้เกิด เราควบคุมจัดการบริหารทั้งวิญญาณ ทั้งปัญญาของเราให้เรียบร้อย รอตั้งแต่ธาตุขันธ์แตกดับเท่านั้นเอง เพราะว่าทุกคนเกิดมาก็ถึงจุดหมายปลายทางกัน คือความตาย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นกฏของไตรลักษณ์ กฎของธรรมชาติ
เราต้องพยายามเข้าถึงตัววิญญาณ ดับความเกิดของวิญญาณ คลายความหลงของวิญญาณเสียก่อน ก่อนที่ธาตุขันธ์จะแตกจะดับ เพราะว่าความจริงมีทุกอย่างที่พระพุทธองค์ได้ค้นพบ แล้วก็เอามาเปิดเผย วันพรุ่งนี้มี มะรืนนี้มี เดือนหน้ามี ปีหน้ามี พ่อแม่มีครูบาอาจารย์มี เรามา มาพิจารณาดูตัวว่าจริตของเราว่าจริตของเราเป็นอย่างไร ใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความแข็งกระด้าง มีความตระหนี่เหนียวแน่น หรือว่ามีความเกียจคร้าน เราต้องพยายามกำจัดออกให้หมด
ยิ่งบวชเป็นพระเป็นชีถ้ามีความเกียจคร้านแล้ว ใช้การไม่ได้ ต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรให้เป็นเลิศ มีสติมีปัญญารอบรู้ในดวงจิต รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในขันธ์ห้าของตัวเราเอง รอบรู้ในการชำระสะสางกิเลสออกจากใจตัวเรา กิเลสหยาบกิเลสละเอียดทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เวลาขบเวลาฉันก็เหมือนกัน กายเราหิวหรือใจของเราเกิดความอยาก การน้อมเอกลาภเข้ามาหาตัวเอง เราก็ต้องพยายามแก้ไขปรับปรุง อย่าเป็นทาสของกิเลส จงเป็นนาย เจริญสติปัญญา เป็นนายเหนือใจเรา นอกนั้นก็มีตั้งแต่อานิสงส์อยู่ในระดับของสมมติ เรายังให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ทำบุญจนเต็มเปี่ยม จนล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่เพื่อนสู่ฝูง เทวดาก็ร้อน อยากจะมาร่วมบุญด้วย จะทำอะไร จะคิดอะไร เทวดาก็ไม่ให้ลำบาก
ตั้งใจรับพรกัน
เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกก็พอ ไม่ต้องตามไปถึงท้อง เวลาลมหายใจเข้าก็มีความระลึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ นี่แหละในหลักธรรมที่ท่านว่า ‘สติ’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ เรามาสร้างความรู้ตัวตรงนี้ให้ต่อเนื่อง
ส่วนใจนั้นเขาก็เกิด เขาก็คิด เรื่องโน้นเรื่องนี้ ถ้าเรามีความรู้ตัวอยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่อง เราก็จะเห็นลักษณะการเกิดของวิญญาณหรือว่าของใจ เวลาเขาจะก่อตัว เขาจะเริ่มเกิด แต่เวลานี้เขาเร็วเขาไวเรารู้ไม่ทันหรอก เพราะว่ากำลังสติของเรามีน้อย เขาคิดปรุงแต่งไปสารพัดเรื่อง บางทีก็คิดเรื่องโน้นคิดเรื่องนี้ เขาคิดขึ้นมาเองนั่นแหละ เพราะความเคยชินของเขา
ความหลงของเขา เขาถึงเกิด ปรุงแต่ง แล้วก็มีอาการของขันธ์ห้า ซึ่งอยู่ในกายของเรา ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดนี่แหละบางทีก็ผุดขึ้นมา โดยใจก็เคลื่อนเข้าไปรวมเป็นตัวเดียว แล้วก็ไปด้วยกัน มันหลงอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่ บุคคลที่ไม่มีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องไม่แหลมคม ไม่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ ก็ยากที่จะสังเกตเห็นตรงนี้ ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง เราก็ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ เขาเรียกว่า ‘สมถะ’
สมถภาวนา ‘สมถะ’ ใจของเราจะกลับมาอยู่กับลมหายใจ มันวิ่งไปแล้วมันเกิดแล้วเราฉุดเข้ามา ไปแล้วฉุดเข้ามา กำลังสติของเราก็จะเข้มแข็งขึ้น ใจของเราก็จะช้าลงๆๆ จนกว่าใจของเราจะคลาย พอคลายออกใจก็จะว่างโล่ง โปร่ง กายก็จะเบา เราก็จะเห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ท่านเปรียบเอาไว้เหมือนกับพยับแดดหรือลูกคลื่น เวลาเข้ากระทบฝั่งก็แตกสลายหายไป เวลาเราเดินตามถนนหนทาง เวลาแดดร้อนๆ เหมือนกับมีเปลวเพลิง มองเห็นเหมือนกับมีตัวมีตน เราเข้าไปแล้วมันก็ไม่มีตัวมีตนนั้นแหละ ตัวใจของเราก็ไปหลงเอาความคิดตรงนี้ ทำให้เกิดอัตตาตัวตน ทำให้กายก็หนัก ใจก็หนัก แถมใจก็ยังเกิดกิเลสอีก บางทีก็เป็นมลทิน บางทีก็เป็นอกุศล บางทีก็เป็นกุศล สารพัดเรื่องอยู่ในกายของเรา
ถ้าเรามาเจริญสติให้ต่อเนื่องเข้าไปสังเกตให้รู้ตั้งแต่ต้นเหตุ ให้เห็นตั้งแต่ต้นเหตุ คลายออกตั้งแต่ต้นเหตุ เราก็จะมองเห็นความเป็นจริง แล้วตามดู รู้เห็นตามความเป็นจริง เข้าใจคำว่าอัตตา เข้าใจคำว่าอนัตตา เข้าใจคำว่าสมมติวิมุตติ ให้เห็นตรงจุดนี้ให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยตามทำความเข้าใจให้ได้ทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าจะไปนึกเอาไปคิดเอา ถึงจะนึกคิด พิจารณาในธรรม แต่ความหลงก็ยังเข้าครอบงำอยู่ เพราะว่ายังเป็นกิเลสธรรมอยู่ นอกจากบุคคลที่มาคลายออก ตัววิญญาณพลิกหงายคลายออกตามดูทุกเรื่อง ให้ใจของเรา ให้วิญญาณของเรายอมรับความเป็นจริงได้ นั่นแหละ ไม่ใช่ว่าแยกแยะได้ ทำความเข้าใจได้ แล้วเราก็ปล่อยปละละเลย มันก็ซึมเข้าสู่สภาพเดิม เราก็ต้องพยายามเด็ดขาดๆ ให้ได้จริงๆ
ถ้าหลวงพ่อจะพูดบอกว่า ถ้าหลวงพ่อไม่คิดมา 30 ปีแล้ว ทุกคนคงไม่เชื่อ เพราะมันเป็นอย่างนั้น เพราะรู้เห็นแล้วก็ทำความเข้าใจ ไม่ปล่อยปละละเลย ทั้งจิตทั้งสติปัญญา แล้วรีบแก้ไข ขยันหมั่นเพียร ให้ได้ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ไม่ได้เลือกกาลเลือกเวลา จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ในการละกิเลส ตัวไหนมันเกิดขึ้น เราก็พยายามละตัวนั้นนั่นแหละ กิเลสตัวไหนมันเกิดขึ้น เราก็พยายามดับ แล้วทำความเข้าใจแก้ไข ทั้งภายนอกแก้ไขทั้งภายใน ก็ต้องพยายาม มันไม่เหลือวิสัยหรอก ถ้าเรารู้แล้วเห็นแล้ว หมดความสงสัยใน ภายในของเราแล้ว ตรงกับคำสอนของพระพุทธองค์
เปรียบเทียบกับกาลกับเวลา ตั้งแต่ก่อนกับเดี๋ยวนี้ กิเลสของเราเบาบางลงไปเยอะไหม เรารู้จักละกิเลสออกจากใจของเราได้ ได้มากน้อยเท่าไร ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เราแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราเป็นเรื่องของเรา ส่วนความเป็นอยู่ร่วมกันก็มีตั้งแต่ความสมัครสมานสามัคคี ความเมตตา อนุเคราะห์เอื้อเฟื้อ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้หน้าที่ ทำหน้าที่ของเราให้ดี ทำหน้าที่ของเราให้ถูก ไปที่ไหนก็จะมีตั้งแต่ความสุขความเจริญกัน ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ