หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 7
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 7
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 7
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มกราคม 2556
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก การน้อม การสร้างความรู้สึกรับรู้ การสูดลมหายใจ ลองหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ห้ามบังคับลมหายใจ เพียงแค่สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้น ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น
ความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา เพียงแค่รู้เรื่องรับรู้ลมสัมผัสทางลมหายใจอยู่ที่ปลายจมูกของเรา เวลาลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ อันนี้เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่าความรู้ตัวทั่วพร้อม เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ ให้เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้ให้ต่อเนื่องแล้วก็ให้ชัดเจน ถ้ารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘ความรู้ตัว’ อันนี้เป็นแค่รู้กาย
ถ้ารู้ได้ต่อเนื่องลึกลงไป เราก็จะรู้ลักษณะของใจ เวลาใจปกติ เวลาใจเกิด ใจปรุงแต่ง ใจจะก่อตัวอย่างไร เราจะลึกเข้าไปเห็นส่วนนามธรรม ซึ่งเป็นตัววิญญาณอยู่ในกายเนื้อของเรา แล้วก็ความคิดที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเรา ใจของเรากับอาการของขันธ์ห้าเขาหลงกันอยู่ เขารวมกันอยู่ทำให้เกิดอัตตาตัวตน ทำให้เกิดอัตตาตัวตน กายก็เลยหนักใจก็เลยหนัก ไปที่ไหนก็ ไปยึดเอาหมดทุกอย่าง
ถ้าสังเกตวิเคราะห์จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด ถ้าเราเห็นใจกับความคิดเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกัน เห็นตั้งแต่ก่อตัวเขาก็จะคลายของเขาออก ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ เราก็จะเห็นการเกิดการดับของความคิดของขันธ์ห้า ที่พระพุทธองค์ท่านบอกว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยงของขันธ์ห้า ตัววิญญาณเข้าไปหลงเข้าไปรวมทำให้เกิดอัตตาตัวตน แล้วก็ไปหลงเอาหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ท่านถึงบอกให้สังเกตให้วิเคราะห์ แล้วก็จนกว่าจะแยกจะคลายได้ ตามดูได้ทุกเรื่อง แล้วก็มาละกิเลสที่ใจ ดับความเกิดที่ใจออก มองเห็นหนทางเดินของมีอยู่แล้ว
เรื่องท่านสอนหลักของอริยสัจ ใจส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ การเกิดการดับของใจของวิญญาณเป็นอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ เราจะละกิเลสได้อย่างไร เราก็ต้องพยายาม มีความเพียร อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ความจริงสัจธรรมมีอยู่ ขอให้เราทำความจริงให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเราให้เห็นใจของเรา แสวงหาธรรมย่อมรู้ธรรม
‘ตัวใจ’ นั่นแหละคือตัวธรรม ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปคิดว่าจะไม่รู้ไม่เห็น ลองอดพูดอดคิด สังเกตดูความคิดเขาก่อตัวอย่างไร เขาเกิดอย่างไร สติปัญญาของเราก็ให้มีตั้งแต่กุศลมีแต่บุญ ทำอะไรก็ให้อยู่กับบุญ อยู่กับกองบุญ แต่ไม่หลงไม่ยึด อะไรที่เป็นอกุศล เราก็พยายามละเสียออกให้มันหมด ละกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมด ทำภาระหน้าที่การงานภายในของเราให้มันจบ งานภายนอกเราก็ยังสมมุติให้เกิดประโยชน์ เราก็พลอยได้รับอานิสงส์ของสมมตินั้นด้วย
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระอยู่บ่อยๆ เป็นเรื่องของเราทุกคน ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เรื่องของเรา กิเลสก็ของเรา ภาระหน้าที่สมมติก็ของเรา เราต้องทำความเข้าใจให้กระจ่าง เราไม่รู้จักแนวทางเราถึงแสวงหาแนวทางกัน แนวทางนั้นมีมานานแล้วแหละ ตั้งแต่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเอามาเปิดเผย ท่านบอกว่าให้เดินตามที่ท่านชี้แนะแนวทางให้เสียก่อน ถ้าปรากฏขึ้นที่ใจของเราเห็นที่ใจของเรา ตามความเป็นจริงแล้ว ท่านถึงบอกให้เชื่อ ช่วงที่ยังไม่เห็น ช่วงที่ยังไม่รู้นี่ อย่ามาโต้แย้งเด็ดขาด ให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ให้ต่อเนื่อง ถ้ารู้ไม่ทันก็รู้จักหยุด รู้จักควบคุม ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแส
ถ้าเรารู้จักลักษณะของใจชัดเจน รู้ลักษณะของความคิดชัดเจน สติปัญญาชัดเจน มีเหตุมีผลเพียงพอ ท่านถึงบอกว่าให้เชื่อ ถ้ารู้ด้วย เห็นด้วย ตามทำความเข้าใจให้ได้ด้วย นั่นแหละ ถ้าเราเห็นแล้ว ทำความจริงให้ปรากฏแล้ว ความเพียรก็จะมีตั้งแต่ความต่อเนื่อง ก็เรียกว่า มหาสติมหาปัญญา ไม่จำเป็นต้องไปหาที่ไหนเลย หาลงที่ใจของเรานั่นแหละ อันนี้เรื่องของกาย เรื่องของใจเขาก็อาศัยกันอยู่ หมดความสงสัย หมดความลังเล มีตั้งแต่จะดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน
บุญเราก็สนุกสร้าง กิเลสเราก็สนุกละ มันมาเมื่อไหร่เราก็ละออกเมื่อนั้น จนมันเหือดมันแห้ง จนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์ มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่ได้กลับมาเกิดกัน อยู่กับบุญ กายก็เป็นบุญ วาจาก็เป็นบุญ ใจก็ยิ่งเป็นบุญใหญ่ เพราะว่าใจไม่เกิด ใจบริสุทธิ์ มองเห็นหนทางเดินกันก็ต้องพยายามนะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลาอะไรผิดพลาดเราก็รีบแก้ไข อะไรที่ไม่ดีเราก็พยายามละเสีย แต่ละวันๆ เราแก้ไขตัวเองได้ตลอดเวลา บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ไม่ต้องไปให้คนอื่นเขาพร่ำสอนหรอก เราเจริญสติไปพร่ำสอนใจของเรา ดูภาระหน้าที่การงานของเราให้ดี อะไรเราผิดพลาดเราก็รีบแก้ไข
แต่ละวันตื่นขึ้นมา ใจของเราส่งออกไปภายนอกสักกี่เรื่อง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล ขันธ์ห้าผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราสักกี่ครั้ง ใจของเราเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง เหตุการณ์จากภายนอกมาทำให้ใจเกิดหรือว่าเกิดขึ้นจากข้างใน เราต้องแก้ไขทั้งภายใน ดับทั้งภายใน แก้ไขทั้งข้างนอกด้วย แล้วก็ล้นออกไปสู่สังคมสู่โลกธรรม กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ต้องแจงให้ละเอียด อยู่คนเดียวก็มีความสุข อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟัง
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มกราคม 2556
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก การน้อม การสร้างความรู้สึกรับรู้ การสูดลมหายใจ ลองหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ห้ามบังคับลมหายใจ เพียงแค่สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้น ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น
ความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา เพียงแค่รู้เรื่องรับรู้ลมสัมผัสทางลมหายใจอยู่ที่ปลายจมูกของเรา เวลาลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ อันนี้เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่าความรู้ตัวทั่วพร้อม เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ ให้เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้ให้ต่อเนื่องแล้วก็ให้ชัดเจน ถ้ารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘ความรู้ตัว’ อันนี้เป็นแค่รู้กาย
ถ้ารู้ได้ต่อเนื่องลึกลงไป เราก็จะรู้ลักษณะของใจ เวลาใจปกติ เวลาใจเกิด ใจปรุงแต่ง ใจจะก่อตัวอย่างไร เราจะลึกเข้าไปเห็นส่วนนามธรรม ซึ่งเป็นตัววิญญาณอยู่ในกายเนื้อของเรา แล้วก็ความคิดที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเรา ใจของเรากับอาการของขันธ์ห้าเขาหลงกันอยู่ เขารวมกันอยู่ทำให้เกิดอัตตาตัวตน ทำให้เกิดอัตตาตัวตน กายก็เลยหนักใจก็เลยหนัก ไปที่ไหนก็ ไปยึดเอาหมดทุกอย่าง
ถ้าสังเกตวิเคราะห์จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด ถ้าเราเห็นใจกับความคิดเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกัน เห็นตั้งแต่ก่อตัวเขาก็จะคลายของเขาออก ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ เราก็จะเห็นการเกิดการดับของความคิดของขันธ์ห้า ที่พระพุทธองค์ท่านบอกว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยงของขันธ์ห้า ตัววิญญาณเข้าไปหลงเข้าไปรวมทำให้เกิดอัตตาตัวตน แล้วก็ไปหลงเอาหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ท่านถึงบอกให้สังเกตให้วิเคราะห์ แล้วก็จนกว่าจะแยกจะคลายได้ ตามดูได้ทุกเรื่อง แล้วก็มาละกิเลสที่ใจ ดับความเกิดที่ใจออก มองเห็นหนทางเดินของมีอยู่แล้ว
เรื่องท่านสอนหลักของอริยสัจ ใจส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ การเกิดการดับของใจของวิญญาณเป็นอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ เราจะละกิเลสได้อย่างไร เราก็ต้องพยายาม มีความเพียร อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ความจริงสัจธรรมมีอยู่ ขอให้เราทำความจริงให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเราให้เห็นใจของเรา แสวงหาธรรมย่อมรู้ธรรม
‘ตัวใจ’ นั่นแหละคือตัวธรรม ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปคิดว่าจะไม่รู้ไม่เห็น ลองอดพูดอดคิด สังเกตดูความคิดเขาก่อตัวอย่างไร เขาเกิดอย่างไร สติปัญญาของเราก็ให้มีตั้งแต่กุศลมีแต่บุญ ทำอะไรก็ให้อยู่กับบุญ อยู่กับกองบุญ แต่ไม่หลงไม่ยึด อะไรที่เป็นอกุศล เราก็พยายามละเสียออกให้มันหมด ละกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมด ทำภาระหน้าที่การงานภายในของเราให้มันจบ งานภายนอกเราก็ยังสมมุติให้เกิดประโยชน์ เราก็พลอยได้รับอานิสงส์ของสมมตินั้นด้วย
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระอยู่บ่อยๆ เป็นเรื่องของเราทุกคน ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เรื่องของเรา กิเลสก็ของเรา ภาระหน้าที่สมมติก็ของเรา เราต้องทำความเข้าใจให้กระจ่าง เราไม่รู้จักแนวทางเราถึงแสวงหาแนวทางกัน แนวทางนั้นมีมานานแล้วแหละ ตั้งแต่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเอามาเปิดเผย ท่านบอกว่าให้เดินตามที่ท่านชี้แนะแนวทางให้เสียก่อน ถ้าปรากฏขึ้นที่ใจของเราเห็นที่ใจของเรา ตามความเป็นจริงแล้ว ท่านถึงบอกให้เชื่อ ช่วงที่ยังไม่เห็น ช่วงที่ยังไม่รู้นี่ อย่ามาโต้แย้งเด็ดขาด ให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ให้ต่อเนื่อง ถ้ารู้ไม่ทันก็รู้จักหยุด รู้จักควบคุม ท่านถึงบอกว่าเป็นการฝืน เป็นการทวนกระแส
ถ้าเรารู้จักลักษณะของใจชัดเจน รู้ลักษณะของความคิดชัดเจน สติปัญญาชัดเจน มีเหตุมีผลเพียงพอ ท่านถึงบอกว่าให้เชื่อ ถ้ารู้ด้วย เห็นด้วย ตามทำความเข้าใจให้ได้ด้วย นั่นแหละ ถ้าเราเห็นแล้ว ทำความจริงให้ปรากฏแล้ว ความเพียรก็จะมีตั้งแต่ความต่อเนื่อง ก็เรียกว่า มหาสติมหาปัญญา ไม่จำเป็นต้องไปหาที่ไหนเลย หาลงที่ใจของเรานั่นแหละ อันนี้เรื่องของกาย เรื่องของใจเขาก็อาศัยกันอยู่ หมดความสงสัย หมดความลังเล มีตั้งแต่จะดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน
บุญเราก็สนุกสร้าง กิเลสเราก็สนุกละ มันมาเมื่อไหร่เราก็ละออกเมื่อนั้น จนมันเหือดมันแห้ง จนเหลือตั้งแต่ความบริสุทธิ์ มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่ได้กลับมาเกิดกัน อยู่กับบุญ กายก็เป็นบุญ วาจาก็เป็นบุญ ใจก็ยิ่งเป็นบุญใหญ่ เพราะว่าใจไม่เกิด ใจบริสุทธิ์ มองเห็นหนทางเดินกันก็ต้องพยายามนะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลาอะไรผิดพลาดเราก็รีบแก้ไข อะไรที่ไม่ดีเราก็พยายามละเสีย แต่ละวันๆ เราแก้ไขตัวเองได้ตลอดเวลา บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ไม่ต้องไปให้คนอื่นเขาพร่ำสอนหรอก เราเจริญสติไปพร่ำสอนใจของเรา ดูภาระหน้าที่การงานของเราให้ดี อะไรเราผิดพลาดเราก็รีบแก้ไข
แต่ละวันตื่นขึ้นมา ใจของเราส่งออกไปภายนอกสักกี่เรื่อง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล ขันธ์ห้าผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราสักกี่ครั้ง ใจของเราเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง เหตุการณ์จากภายนอกมาทำให้ใจเกิดหรือว่าเกิดขึ้นจากข้างใน เราต้องแก้ไขทั้งภายใน ดับทั้งภายใน แก้ไขทั้งข้างนอกด้วย แล้วก็ล้นออกไปสู่สังคมสู่โลกธรรม กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ต้องแจงให้ละเอียด อยู่คนเดียวก็มีความสุข อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟัง