หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 58 วันที่ 25 มิถุนายน 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 58 วันที่ 25 มิถุนายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 3 (ลำดับที่ 41-60)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 58
วันที่ 25 มิถุนายน 2557
เจริญธรรมญาติโยมทุกคนทุกท่าน ขอให้ญาติโยมจงเจริญสติ ตั้งแต่เช้าขึ้นมา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาพวกท่านได้สำรวจใจของตัวเราเองแล้วหรือยัง สำรวจกาย สำรวจใจ ทำความเข้าใจ รู้จักการเจริญสติ รู้จักการสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ
นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจก็จะชัดเจน เราพยายามฝึกตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่
ศรัทธานั้นมีกันหมดทุกคน ถึงได้น้อมกายของเราเข้ามาศึกษา เข้ามาค้นคว้าเพื่อที่จะทำความเข้าใจ แสวงหาธรรม การแสวงหาการทำความเข้าใจ การเจริญสติ เราจะเอาอะไรไปแสวงหาธรรม นี่แหละในหลักธรรมแนวทางนั้นมีมาตั้งนาน พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบและเอามาเปิดเผย โดยการทำความเข้าใจกับจิตวิญญาณในกายของเรา ในกายเนื้อของเราหรือว่าขันธ์ห้าของเรา ในกายของเรานี้มีอะไรบ้าง ที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม การเกิดการดับของจิตวิญญาณเป็นอย่างไร ทำไมจิตวิญญาณหรือว่าใจของเราถึงเกิด ทำไมใจของเราถึงหลง ทำไมใจของเราถึงเป็นทาสของความทะเยอทะยานอยาก
ในหลักธรรมท่านให้ละความอยาก ละทุกสิ่งทุกอย่าง ดับความเกิด ตัวกำลังสติของเรายังไม่ต่อเนื่องยังไม่เชื่อมโยง เพียงแค่การสร้างกับการทำให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็กะพร่องกะแพร่ง ทั้งที่ใจเป็นบุญ ใจปรารถนาอยากจะได้บุญ ปรารถนาอยากรู้ธรรม ไม่มีใจดวงไหนอยากจะตกทุกข์ได้ยาก มีตั้งแต่อยากจะเดินทางให้ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ความอยากนั่นแหละปิดกั้นเอาไว้เสีย
ท่านถึงมาให้เจริญสติเข้าไปละความอยาก เข้าไปสังเกต เข้าไปทำความเข้าใจ รู้ไม่เท่าทันก็รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักสร้างตบะบารมี ใจของเราเกิดความอยากความโลภ เราก็พยายามเอาออก คลายด้วยการเอาออก ด้วยการให้ ใจเกิดความโกรธก็รู้จักดับความโกรธ ให้อภัยทานอโหสิกรรม ทำในสิ่งตรงกันข้ามกับกิเลส ใจของเราทั้งอยาก ทั้งอยากด้วยทั้งหวังด้วย เขาปิดกั้นตัวเขาเอาไว้มากมายมาหลายภพหลายชาติ หลายกัปหลายกัลป์ เราต้องมาแก้ไข จะแก้ไขให้ได้แค่วันหนึ่งวันเดียว สองวัน สามวัน ก็ไม่ได้ เราก็คอยสร้างสะสมบุญบารมีของเรา
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราพยายามทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปอบรมบ่มใจของเราอยู่ตลอดเวลา ชี้เหตุชี้ผล ให้เขารู้เห็นตามความเป็นจริง แต่การชี้เหตุชี้ผลต้องเป็นการชี้เหตุชี้ผลด้วยการเจริญสติ กำลังสติของเราก็จะกลายเป็นมหาสติ ถ้าเราทำให้ต่อเนื่อง ถ้าเราเห็นตัวใจหรือว่าวิญญาณคลายออกจากขันธ์ห้า ก็จะเป็นปัญญาวิปัสสนา สัมมาทิฏฐิความรู้แจ้งเห็นจริง ใจของเราพลิกหงาย แยกรูปแยกนาม เห็นคนละส่วนชัดเจน กำลังสติของเราตามดูรู้เห็น ซึ่งท่านเรียกว่า รอบรู้ในกองสังขาร หรือว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา เห็นความไม่เที่ยงของขันธ์ห้า
ใจของเรามองเห็นความเป็นจริงทุกเรื่อง เขาก็จะไม่เข้าไปหลงเข้าไปยึด เขาก็จะปล่อยก็จะวาง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าท่านสอนเรื่องอัตตา สอนเรื่องอนัตตา สอนเรื่องหลักของอริยสัจ สอนเรื่องความจริงของชีวิต เราไม่เข้าใจแนวทาง ถึงได้แสวงหาที่โน่นแสวงหาที่นี่ ถ้าเราเข้าใจแล้ว อยู่ที่ไหนเราก็รู้ใจของเรา แก้ไขใจของเรา ก่อนที่จะรู้เราก็ต้องแสวงหาหนทาง ที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง แสวงหาประสบการณ์
แต่การสร้างบุญสร้างบารมีนั้นทุกคนสร้างมาดีถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา หมั่นพร่ำสอนใจเจริญสติไปพร่ำสอนใจมีเพื่อนคุย คุยกับใจของตัวเราเองว่า อันนั้นผิด อันนี้ถูก อันนี้ควรละ อันนี้ควรเจริญ
ตราบใดที่เรายังเจริญสติไม่ต่อเนื่อง ไม่รู้จักลักษณะของสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน ก็มีตั้งแต่ปัญญาของโลกีย์ ปัญญาของโลกสมมติ เขาก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเองเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเขาจะยอมแพ้ง่ายๆ เราก็ต้องพยายามฝึกฝนตัวเรา แก้ไขตัวเรา อยู่หลายคนก็มีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข เราก็จะได้ฟังธรรมตลอดเวลาถ้าเรามีสติมีปัญญารู้ใจของเรา รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ ก็จะเป็นอาจารย์สอนธรรมะให้เรา ว่าใจของเราเกิดความยินดียินร้าย ใจของเราปรุงแต่งหรือไม่ มีเรื่องเดียวคือเรื่องที่จะต้องทำใจของเราให้สะอาดให้บริสุทธิ์
ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ มากมาย ถึงจะคร่ำเคร่งมากมายถึงขนาดไหน ก็เพื่อที่จะคลายความหลงแล้วก็ละกิเลส ให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน ถ้าเราไปยึดไปติดอันโน้นอันนี้ ก็เหมือนกับยึดติดอยู่แค่เปลือกแค่กระพี้ เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ถึงแก่น แก่นของพระธรรมอยู่ตรงไหน แก่นของคำว่าศาสนาอยู่ตรงไหน ต้นไม้ก็มีทั้งแก่นมีทั้งเปลือกมีทั้งกระพี้ เราก็ต้องทำความเข้าใจหมด ให้ถูกต้อง
กายของเรานี้มีวิญญาณ วิญญาณเป็นลักษณะอย่างไร วิญญาณในกายในขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างไร
ที่พวกเราพากันสวดพากันท่องอยู่ทุกวันทั้งเช้าทั้งเย็น ถ้าเรารู้เราเห็นเราก็เทียบเคียงดู ก็จะมีตั้งแต่ความสุข
ที่ท่านเรียกว่าชื่อโน้นเป็นอย่างงั้น ชื่อนี้เป็นอย่างงี้ ลักษณะเป็นอย่างงั้นเป็นอย่างงี้ ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ การฝักใฝ่ การสนใจ การแสวงหา การทำความเข้าใจของเรามีเต็มเปี่ยมหรือเปล่า หรือว่ามีตั้งแต่ความเกียจคร้าน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บอกตัวเองไม่เป็น ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มันก็แบกกายของเราเป็นภาระให้ตัวเอง เป็นภาระให้สถานที่ เป็นภาระให้คนนู้นคนนี้ เพียงแค่ระดับสมมติก็ไม่ขยันหมั่นเพียร ยิ่งวิมุตติยิ่งจิตใจเราก็ยิ่งห่างไกล
ให้ขยันหมั่นเพียรทั้งทางโลกทั้งทางธรรม ถ้าเราเข้าใจโลกกับธรรมก็อยู่ด้วยกัน สมมติกับวิมุตติก็อยู่ด้วยกัน อยู่คนเดียวเราก็รู้ใจของเรา แก้ไขใจของเรามีความสุข ถ้าเราสอนใจของเราไม่ได้ อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอนเราเลย ไม่มีประโยชน์อะไร
การไปหาครูบาอาจารย์หาสถานที่ ก็เพียงที่จะรู้จักวิธีรู้จักแนวทางแล้วก็ไปทำความเพียร กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร อยู่คนเดียวใจของเราเป็นอย่างไร กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร นิวรณธรรม มลทินต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ใจของเราเป็นลักษณะอย่างไร เราต้องศึกษาให้ละเอียดจนหมดความสงสัย
ส่วนมากจะปล่อยปละละเลย เพียงแค่การเจริญสติให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงอันนี้ค่อนข้างยาก จะเอาตั้งแต่บุญอย่างเดียว ทำบุญเอาบุญก็ได้บุญอยู่ อย่าไปทิ้งบุญ พยายามสร้างสะสมบุญ ในหลักธรรมท่านก็ให้สร้างประโยชน์ สร้างคุณงามความดี
ให้ละอกุศล เจริญกุศล ไม่ให้หลงไม่ให้ยึด ยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ในโลกนี้ ทำโลกนี้ให้ดี อนาคตนั้นก็จะออกมาดีเอง ขอให้ทำปัจจุบันให้ดี ก็ต้องพยายาม
ยิ่งเรามาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านยิ่งมีความสมัครสมานสามัคคี สำรวมกาย วาจา ใจของเรา อย่าไปอคติกัน อย่าไปเพ่งโทษกัน มันไม่ดี มีความเสียสละช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่าเอาตั้งแต่คลุกคลี อย่าเอาตั้งแต่การเล่น อย่าเอาตั้งแต่พูดคุย ไม่ดี
ให้เรามีความขยันหมั่นเพียรทุกเวลา กายวิเวก ใจวิเวก ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เราจะมีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข
เอาล่ะ วันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันนะ
วันที่ 25 มิถุนายน 2557
เจริญธรรมญาติโยมทุกคนทุกท่าน ขอให้ญาติโยมจงเจริญสติ ตั้งแต่เช้าขึ้นมา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาพวกท่านได้สำรวจใจของตัวเราเองแล้วหรือยัง สำรวจกาย สำรวจใจ ทำความเข้าใจ รู้จักการเจริญสติ รู้จักการสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ
นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจก็จะชัดเจน เราพยายามฝึกตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่
ศรัทธานั้นมีกันหมดทุกคน ถึงได้น้อมกายของเราเข้ามาศึกษา เข้ามาค้นคว้าเพื่อที่จะทำความเข้าใจ แสวงหาธรรม การแสวงหาการทำความเข้าใจ การเจริญสติ เราจะเอาอะไรไปแสวงหาธรรม นี่แหละในหลักธรรมแนวทางนั้นมีมาตั้งนาน พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบและเอามาเปิดเผย โดยการทำความเข้าใจกับจิตวิญญาณในกายของเรา ในกายเนื้อของเราหรือว่าขันธ์ห้าของเรา ในกายของเรานี้มีอะไรบ้าง ที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม การเกิดการดับของจิตวิญญาณเป็นอย่างไร ทำไมจิตวิญญาณหรือว่าใจของเราถึงเกิด ทำไมใจของเราถึงหลง ทำไมใจของเราถึงเป็นทาสของความทะเยอทะยานอยาก
ในหลักธรรมท่านให้ละความอยาก ละทุกสิ่งทุกอย่าง ดับความเกิด ตัวกำลังสติของเรายังไม่ต่อเนื่องยังไม่เชื่อมโยง เพียงแค่การสร้างกับการทำให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็กะพร่องกะแพร่ง ทั้งที่ใจเป็นบุญ ใจปรารถนาอยากจะได้บุญ ปรารถนาอยากรู้ธรรม ไม่มีใจดวงไหนอยากจะตกทุกข์ได้ยาก มีตั้งแต่อยากจะเดินทางให้ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ความอยากนั่นแหละปิดกั้นเอาไว้เสีย
ท่านถึงมาให้เจริญสติเข้าไปละความอยาก เข้าไปสังเกต เข้าไปทำความเข้าใจ รู้ไม่เท่าทันก็รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักสร้างตบะบารมี ใจของเราเกิดความอยากความโลภ เราก็พยายามเอาออก คลายด้วยการเอาออก ด้วยการให้ ใจเกิดความโกรธก็รู้จักดับความโกรธ ให้อภัยทานอโหสิกรรม ทำในสิ่งตรงกันข้ามกับกิเลส ใจของเราทั้งอยาก ทั้งอยากด้วยทั้งหวังด้วย เขาปิดกั้นตัวเขาเอาไว้มากมายมาหลายภพหลายชาติ หลายกัปหลายกัลป์ เราต้องมาแก้ไข จะแก้ไขให้ได้แค่วันหนึ่งวันเดียว สองวัน สามวัน ก็ไม่ได้ เราก็คอยสร้างสะสมบุญบารมีของเรา
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เราพยายามทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปอบรมบ่มใจของเราอยู่ตลอดเวลา ชี้เหตุชี้ผล ให้เขารู้เห็นตามความเป็นจริง แต่การชี้เหตุชี้ผลต้องเป็นการชี้เหตุชี้ผลด้วยการเจริญสติ กำลังสติของเราก็จะกลายเป็นมหาสติ ถ้าเราทำให้ต่อเนื่อง ถ้าเราเห็นตัวใจหรือว่าวิญญาณคลายออกจากขันธ์ห้า ก็จะเป็นปัญญาวิปัสสนา สัมมาทิฏฐิความรู้แจ้งเห็นจริง ใจของเราพลิกหงาย แยกรูปแยกนาม เห็นคนละส่วนชัดเจน กำลังสติของเราตามดูรู้เห็น ซึ่งท่านเรียกว่า รอบรู้ในกองสังขาร หรือว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา เห็นความไม่เที่ยงของขันธ์ห้า
ใจของเรามองเห็นความเป็นจริงทุกเรื่อง เขาก็จะไม่เข้าไปหลงเข้าไปยึด เขาก็จะปล่อยก็จะวาง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ว่าท่านสอนเรื่องอัตตา สอนเรื่องอนัตตา สอนเรื่องหลักของอริยสัจ สอนเรื่องความจริงของชีวิต เราไม่เข้าใจแนวทาง ถึงได้แสวงหาที่โน่นแสวงหาที่นี่ ถ้าเราเข้าใจแล้ว อยู่ที่ไหนเราก็รู้ใจของเรา แก้ไขใจของเรา ก่อนที่จะรู้เราก็ต้องแสวงหาหนทาง ที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง แสวงหาประสบการณ์
แต่การสร้างบุญสร้างบารมีนั้นทุกคนสร้างมาดีถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา หมั่นพร่ำสอนใจเจริญสติไปพร่ำสอนใจมีเพื่อนคุย คุยกับใจของตัวเราเองว่า อันนั้นผิด อันนี้ถูก อันนี้ควรละ อันนี้ควรเจริญ
ตราบใดที่เรายังเจริญสติไม่ต่อเนื่อง ไม่รู้จักลักษณะของสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน ก็มีตั้งแต่ปัญญาของโลกีย์ ปัญญาของโลกสมมติ เขาก็หาเหตุหาผลมาปิดกั้นตัวเองเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเขาจะยอมแพ้ง่ายๆ เราก็ต้องพยายามฝึกฝนตัวเรา แก้ไขตัวเรา อยู่หลายคนก็มีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข เราก็จะได้ฟังธรรมตลอดเวลาถ้าเรามีสติมีปัญญารู้ใจของเรา รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ ก็จะเป็นอาจารย์สอนธรรมะให้เรา ว่าใจของเราเกิดความยินดียินร้าย ใจของเราปรุงแต่งหรือไม่ มีเรื่องเดียวคือเรื่องที่จะต้องทำใจของเราให้สะอาดให้บริสุทธิ์
ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ มากมาย ถึงจะคร่ำเคร่งมากมายถึงขนาดไหน ก็เพื่อที่จะคลายความหลงแล้วก็ละกิเลส ให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน ถ้าเราไปยึดไปติดอันโน้นอันนี้ ก็เหมือนกับยึดติดอยู่แค่เปลือกแค่กระพี้ เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ถึงแก่น แก่นของพระธรรมอยู่ตรงไหน แก่นของคำว่าศาสนาอยู่ตรงไหน ต้นไม้ก็มีทั้งแก่นมีทั้งเปลือกมีทั้งกระพี้ เราก็ต้องทำความเข้าใจหมด ให้ถูกต้อง
กายของเรานี้มีวิญญาณ วิญญาณเป็นลักษณะอย่างไร วิญญาณในกายในขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างไร
ที่พวกเราพากันสวดพากันท่องอยู่ทุกวันทั้งเช้าทั้งเย็น ถ้าเรารู้เราเห็นเราก็เทียบเคียงดู ก็จะมีตั้งแต่ความสุข
ที่ท่านเรียกว่าชื่อโน้นเป็นอย่างงั้น ชื่อนี้เป็นอย่างงี้ ลักษณะเป็นอย่างงั้นเป็นอย่างงี้ ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ การฝักใฝ่ การสนใจ การแสวงหา การทำความเข้าใจของเรามีเต็มเปี่ยมหรือเปล่า หรือว่ามีตั้งแต่ความเกียจคร้าน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บอกตัวเองไม่เป็น ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มันก็แบกกายของเราเป็นภาระให้ตัวเอง เป็นภาระให้สถานที่ เป็นภาระให้คนนู้นคนนี้ เพียงแค่ระดับสมมติก็ไม่ขยันหมั่นเพียร ยิ่งวิมุตติยิ่งจิตใจเราก็ยิ่งห่างไกล
ให้ขยันหมั่นเพียรทั้งทางโลกทั้งทางธรรม ถ้าเราเข้าใจโลกกับธรรมก็อยู่ด้วยกัน สมมติกับวิมุตติก็อยู่ด้วยกัน อยู่คนเดียวเราก็รู้ใจของเรา แก้ไขใจของเรามีความสุข ถ้าเราสอนใจของเราไม่ได้ อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอนเราเลย ไม่มีประโยชน์อะไร
การไปหาครูบาอาจารย์หาสถานที่ ก็เพียงที่จะรู้จักวิธีรู้จักแนวทางแล้วก็ไปทำความเพียร กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร อยู่คนเดียวใจของเราเป็นอย่างไร กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร นิวรณธรรม มลทินต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ใจของเราเป็นลักษณะอย่างไร เราต้องศึกษาให้ละเอียดจนหมดความสงสัย
ส่วนมากจะปล่อยปละละเลย เพียงแค่การเจริญสติให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงอันนี้ค่อนข้างยาก จะเอาตั้งแต่บุญอย่างเดียว ทำบุญเอาบุญก็ได้บุญอยู่ อย่าไปทิ้งบุญ พยายามสร้างสะสมบุญ ในหลักธรรมท่านก็ให้สร้างประโยชน์ สร้างคุณงามความดี
ให้ละอกุศล เจริญกุศล ไม่ให้หลงไม่ให้ยึด ยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ในโลกนี้ ทำโลกนี้ให้ดี อนาคตนั้นก็จะออกมาดีเอง ขอให้ทำปัจจุบันให้ดี ก็ต้องพยายาม
ยิ่งเรามาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านยิ่งมีความสมัครสมานสามัคคี สำรวมกาย วาจา ใจของเรา อย่าไปอคติกัน อย่าไปเพ่งโทษกัน มันไม่ดี มีความเสียสละช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่าเอาตั้งแต่คลุกคลี อย่าเอาตั้งแต่การเล่น อย่าเอาตั้งแต่พูดคุย ไม่ดี
ให้เรามีความขยันหมั่นเพียรทุกเวลา กายวิเวก ใจวิเวก ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เราจะมีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข
เอาล่ะ วันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันนะ