หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 31 วันที่ 7 เมษายน 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 31 วันที่ 7 เมษายน 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 31
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 เมษายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาพวกเราได้เจริญสติแล้วหรือยัง รู้จักเอาสติปัญญาไปทำความเข้าใจไปอบรมใจของเราแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่ม อย่าปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกทุกขณะจิต ท่านถึงเรียกว่าปัจจุบันธรรม อะไรควรเจริญ อะไรควรละ เราก็ต้องพยายามน้อมเข้าไปสำรวจตรวจตราดูทุกเรื่อง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่เราก็รู้กาย รู้ลม รู้ มีความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ เวลาจะลุก จะก้าว จะเดินก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่การเดิน จนความรู้ตัวของเราต่อเนื่องเชื่อมโยง จนรู้เท่าทันรู้ลักษณะของใจ ใจเกิดส่งไปภายนอกได้อย่างไร ความคิดผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ที่ท่านเรียกว่า ขันธ์ทั้งห้า มีวิญญาณหรือตัวใจตัวสุดท้ายเข้ามาครอบครอง เข้ามาสร้างกายเนื้อขึ้นมาปิดกั้นตัวเอง อันนี้ส่วนรูปอันนี้ส่วนนาม เราต้องจำแนกแจกแจงให้ชัดเจน
ศรัทธา การทำบุญให้ทานทุกคนมีกันเต็มเปี่ยมแต่ยังขาดปัญญา รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้า ยังขาดปัญญาหรือว่าปัญญายังไม่เข้มแข็ง ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ศรัทธาต้องให้เป็นปัญญาที่รู้ด้วย เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย เราก็ละกิเลสได้ด้วย ละได้มากได้น้อย เราก็พยายามขัดเกลาเอาออก ทุกเรื่องในชีวิต
กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ที่ท่านบอกว่าหลักของอริยสัจคำว่า ความจริงอันประเสริฐอันนั้นเป็นลักษณะอย่างไร ใจส่งไปภายนอกเป็นอย่างไร อาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เราต้องเจริญสติเข้าไปดูรู้ให้ทัน รู้ไม่ทันเราก็ใช้สมถะดับ หรือว่าควบคุมความคิดควบคุมอารมณ์ของเรานั่นแหละ พยายามทำบ่อยๆ ให้เกิดความเคยชิน ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บมันจะรู้เห็นทุกอย่างปั๊บ เราต้อง เพียงแค่การเจริญสติก็ยังกะพร่องกะแพร่งอยู่ เราก็ต้องพยายามมาสร้างหรือว่ามาเจริญสติให้ต่อเนื่องให้เข้มแข็งจนรู้เท่ารู้ทันรู้กันรู้แก้ รู้แม้แต่การเกิดของใจเราก็ไม่ให้เกิด ดับความเกิดของใจ
แต่เวลานี้ เรามาละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดก็ทั้งยากอยู่ มาสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงก็ยังยากอยู่ เพราะว่าขาดความเพียร แต่การทำบุญให้ทานความเสียสละตรงนี้มีกันอยู่เป็นพื้นฐาน แต่ต้องทำให้ต่อเนื่อง ก็ต้องพยายาม ทั้งพระทั้งโยมทั้งชี ความขยันหมั่นเพียรระดับของสมมติ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความเสียสละ ความอดทน ไม่เห็นแก่ตัว มีตั้งแต่มองโลกในทางที่ดี คิดดี อะไรที่เป็นอกุศลเราก็พยายามละ อะไรที่เป็นกุศลเราก็พยายามเจริญ
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม การกระทำ การลงมือ รู้เท่ารู้ทัน เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย เห็น รู้ลักษณะของใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ ใจที่ละกิเลสได้เป็นอย่างนี้ เราก็ต้องพยายามเอา ยิ่งฝึกฝนตัวเราไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ เห็นเยอะเท่าไหร่ยิ่งทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจได้ รู้ความจริงแล้วเราก็รู้จักละ รู้จักละรู้จักวาง รู้จักจุดปล่อยรู้จักจุดวาง
ระดับสมมติเราก็พยายามยังสมมติของเราให้เกิดประโยชน์ อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านพากันมาคนละทิศละที่ อยู่ด้วยกันก็ให้มีความสมัครสมานสามัคคี มีความเสียสละอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เราก็พยายามจัดระบบระเบียบตั้งแต่โน่น ตั้งแต่การคิด ความคิดอารมณ์ต่างๆ ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาหลงอะไร ทำไมใจถึงเกิด รู้ไม่ทันก็รู้จัดหยุดรู้จักดับ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ
หลวงพ่อก็พูดของเก่า เล่าของเก่าอยู่อย่างนี้แหละ เพราะไม่มีอะไรที่จะไปเล่าต่อ นอกจากดูกาย รู้กาย รู้ใจ รู้จักวิธีแก้ไข รู้จักการเจริญสติเอาไปใช้การใช้งานทำการทำงาน ทุกสิ่งก็ล้วนแต่เป็นอาจารย์ของพวกเรา ตากระรูปใจเป็นอย่างไร หูกระทบเสียงใจเป็นอย่างไร ภาษาธรรมะที่ท่านเรียกว่า สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กายใจปรุงแต่งร่วมหรือไม่ หรือว่าเหตุเกิดขึ้นที่ใจ
แต่เวลานี้ความเกิดนั้นแหละคือ ความหลง ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เกิดมาสร้างภพมนุษย์ วิญญาณก็ยังเกิดต่อเป็นทาสของกิเลสต่อ เรายังไม่เห็นตรงนั้น เราต้องมาไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ ไล่เรียงรู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักใช้สมถะเข้าไปดับ ดับบ่อยๆ แล้วก็เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ใจเกิดความทะเยอทะยานอยาก เราก็พยายามละความอยาก ใจเกิดความตระหนี่เหนียวแน่น เราก็พยายามขัดเกลาเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธด้วยการให้อภัยอโหสิกรรม
ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งสมมติทั้งวิมุตติเขาก็อิงอาศัยกันอยู่ ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บมันจะได้ปั๊บ เราก็ต้องพยายามทำดำเนิน รู้จักวิธีการ รู้จักแนวทาง กายววิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ กำลังสติที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นอย่างนี้ มีหมดอยู่ในกายของเรา กายของเรานี่แหละคือสนามรบเป็นอย่างดีเลย เราพยายามดู รู้ ทำความเข้าใจอยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ยังสมมติให้เกิดประโยชน์ จนกว่าจะหมดลมหายใจ ช่วงจะหมดลมหายใจก็มองเห็นหนทางเดินอีกว่าจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
เราก็ดับความเกิดขณะที่เรายังมีกำลังกายอยู่นี่แหละ เจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผลเห็นเหตุเห็นผลให้ได้เสียก่อน เมื่อใจรู้เห็นตามความเป็นจริงเขาก็จะยอมรับ เขาก็จะไม่ได้เป็นทาสของกิเลส การเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เกิด การเป็นทาสของกิเลสเขาก็ไม่เอา เอาอะไรมาฉุดเขา เขาก็ไม่ไปถ้าเขารู้ความเป็นจริงแล้ว ก็ต้องพยายามกัน
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นอาจารย์สอบอารมณ์เราทั้งนั้น ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะ สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 เมษายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาพวกเราได้เจริญสติแล้วหรือยัง รู้จักเอาสติปัญญาไปทำความเข้าใจไปอบรมใจของเราแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่ม อย่าปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกทุกขณะจิต ท่านถึงเรียกว่าปัจจุบันธรรม อะไรควรเจริญ อะไรควรละ เราก็ต้องพยายามน้อมเข้าไปสำรวจตรวจตราดูทุกเรื่อง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่เราก็รู้กาย รู้ลม รู้ มีความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ เวลาจะลุก จะก้าว จะเดินก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่การเดิน จนความรู้ตัวของเราต่อเนื่องเชื่อมโยง จนรู้เท่าทันรู้ลักษณะของใจ ใจเกิดส่งไปภายนอกได้อย่างไร ความคิดผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ที่ท่านเรียกว่า ขันธ์ทั้งห้า มีวิญญาณหรือตัวใจตัวสุดท้ายเข้ามาครอบครอง เข้ามาสร้างกายเนื้อขึ้นมาปิดกั้นตัวเอง อันนี้ส่วนรูปอันนี้ส่วนนาม เราต้องจำแนกแจกแจงให้ชัดเจน
ศรัทธา การทำบุญให้ทานทุกคนมีกันเต็มเปี่ยมแต่ยังขาดปัญญา รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้า ยังขาดปัญญาหรือว่าปัญญายังไม่เข้มแข็ง ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ศรัทธาต้องให้เป็นปัญญาที่รู้ด้วย เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย เราก็ละกิเลสได้ด้วย ละได้มากได้น้อย เราก็พยายามขัดเกลาเอาออก ทุกเรื่องในชีวิต
กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ที่ท่านบอกว่าหลักของอริยสัจคำว่า ความจริงอันประเสริฐอันนั้นเป็นลักษณะอย่างไร ใจส่งไปภายนอกเป็นอย่างไร อาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เราต้องเจริญสติเข้าไปดูรู้ให้ทัน รู้ไม่ทันเราก็ใช้สมถะดับ หรือว่าควบคุมความคิดควบคุมอารมณ์ของเรานั่นแหละ พยายามทำบ่อยๆ ให้เกิดความเคยชิน ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บมันจะรู้เห็นทุกอย่างปั๊บ เราต้อง เพียงแค่การเจริญสติก็ยังกะพร่องกะแพร่งอยู่ เราก็ต้องพยายามมาสร้างหรือว่ามาเจริญสติให้ต่อเนื่องให้เข้มแข็งจนรู้เท่ารู้ทันรู้กันรู้แก้ รู้แม้แต่การเกิดของใจเราก็ไม่ให้เกิด ดับความเกิดของใจ
แต่เวลานี้ เรามาละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดก็ทั้งยากอยู่ มาสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงก็ยังยากอยู่ เพราะว่าขาดความเพียร แต่การทำบุญให้ทานความเสียสละตรงนี้มีกันอยู่เป็นพื้นฐาน แต่ต้องทำให้ต่อเนื่อง ก็ต้องพยายาม ทั้งพระทั้งโยมทั้งชี ความขยันหมั่นเพียรระดับของสมมติ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความเสียสละ ความอดทน ไม่เห็นแก่ตัว มีตั้งแต่มองโลกในทางที่ดี คิดดี อะไรที่เป็นอกุศลเราก็พยายามละ อะไรที่เป็นกุศลเราก็พยายามเจริญ
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม การกระทำ การลงมือ รู้เท่ารู้ทัน เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย เห็น รู้ลักษณะของใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ ใจที่ละกิเลสได้เป็นอย่างนี้ เราก็ต้องพยายามเอา ยิ่งฝึกฝนตัวเราไปเท่าไหร่ยิ่งเห็นเยอะ เห็นเยอะเท่าไหร่ยิ่งทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจได้ รู้ความจริงแล้วเราก็รู้จักละ รู้จักละรู้จักวาง รู้จักจุดปล่อยรู้จักจุดวาง
ระดับสมมติเราก็พยายามยังสมมติของเราให้เกิดประโยชน์ อยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่านพากันมาคนละทิศละที่ อยู่ด้วยกันก็ให้มีความสมัครสมานสามัคคี มีความเสียสละอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เราก็พยายามจัดระบบระเบียบตั้งแต่โน่น ตั้งแต่การคิด ความคิดอารมณ์ต่างๆ ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาหลงอะไร ทำไมใจถึงเกิด รู้ไม่ทันก็รู้จัดหยุดรู้จักดับ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ
หลวงพ่อก็พูดของเก่า เล่าของเก่าอยู่อย่างนี้แหละ เพราะไม่มีอะไรที่จะไปเล่าต่อ นอกจากดูกาย รู้กาย รู้ใจ รู้จักวิธีแก้ไข รู้จักการเจริญสติเอาไปใช้การใช้งานทำการทำงาน ทุกสิ่งก็ล้วนแต่เป็นอาจารย์ของพวกเรา ตากระรูปใจเป็นอย่างไร หูกระทบเสียงใจเป็นอย่างไร ภาษาธรรมะที่ท่านเรียกว่า สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กายใจปรุงแต่งร่วมหรือไม่ หรือว่าเหตุเกิดขึ้นที่ใจ
แต่เวลานี้ความเกิดนั้นแหละคือ ความหลง ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด เกิดมาสร้างภพมนุษย์ วิญญาณก็ยังเกิดต่อเป็นทาสของกิเลสต่อ เรายังไม่เห็นตรงนั้น เราต้องมาไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ ไล่เรียงรู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักใช้สมถะเข้าไปดับ ดับบ่อยๆ แล้วก็เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ใจเกิดความทะเยอทะยานอยาก เราก็พยายามละความอยาก ใจเกิดความตระหนี่เหนียวแน่น เราก็พยายามขัดเกลาเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธด้วยการให้อภัยอโหสิกรรม
ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งสมมติทั้งวิมุตติเขาก็อิงอาศัยกันอยู่ ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บมันจะได้ปั๊บ เราก็ต้องพยายามทำดำเนิน รู้จักวิธีการ รู้จักแนวทาง กายววิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ กำลังสติที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นอย่างนี้ มีหมดอยู่ในกายของเรา กายของเรานี่แหละคือสนามรบเป็นอย่างดีเลย เราพยายามดู รู้ ทำความเข้าใจอยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ยังสมมติให้เกิดประโยชน์ จนกว่าจะหมดลมหายใจ ช่วงจะหมดลมหายใจก็มองเห็นหนทางเดินอีกว่าจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
เราก็ดับความเกิดขณะที่เรายังมีกำลังกายอยู่นี่แหละ เจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผลเห็นเหตุเห็นผลให้ได้เสียก่อน เมื่อใจรู้เห็นตามความเป็นจริงเขาก็จะยอมรับ เขาก็จะไม่ได้เป็นทาสของกิเลส การเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เกิด การเป็นทาสของกิเลสเขาก็ไม่เอา เอาอะไรมาฉุดเขา เขาก็ไม่ไปถ้าเขารู้ความเป็นจริงแล้ว ก็ต้องพยายามกัน
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นอาจารย์สอบอารมณ์เราทั้งนั้น ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะ สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ