หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 69 วันที่ 29 กันยายน 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 69 วันที่ 29 กันยายน 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 69
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 29 กันยายน 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ ละไม่ได้ ก็ขอให้หยุด ขณะที่เรากําลังเจริญสติ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว หายใจยาว หายใจเข้าสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ นั่นแหละเขาเรียกว่า สติรู้กาย หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เขาเรียกว่า รู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออก เขาเรียกว่า ปัจจุบันธรรม
เราทำอย่างไรถึงจะสร้างความรู้ตัวตรงนี้ ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง จนเอาไปใช้การใช้งาน เอาไปอบรมใจของเราได้ จนเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนามได้ เราก็จะเข้าใจในความหมาย ในคําสอนของพระพุทธองค์ คําว่า อัตตาอนัตตา เป็นลักษณะอย่างนี้ สมมติวิมุตติเป็นลักษณะอย่างนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเราเป็นลักษณะอย่างนี้ วิญญาณในกายหรือว่าตัวใจของเราเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจของเรา ถ้าเขาไม่เกิดเขาก็นิ่ง ถ้าเขาไม่มีกิเลสเขาก็ว่าง แต่เวลานี้ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด สารพัดอย่าง ทั้งเป็นทาสกิเลส
ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจแล้วก็รู้จักแก้ไขใจของเราด้วยการสร้างตบะบารมี เรามีความเกียจคร้านเราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียรให้มีให้เกิดขึ้น เรามีความรับผิดชอบหรือไม่ เรามีสัจจะกับตัวเองหรือเปล่า เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรารู้จักการขัดเกลารู้จักละกิเลสหรือเปล่า ศรัทธานั้นมีอยู่ แต่ขอให้เป็นศรัทธาที่เกิดจากการเจริญภาวนา รู้ด้วยเห็นด้วยเข้าถึงด้วย ไม่ใช่ว่าศรัทธาแบบหลงงมงาย เราก็ต้องพยายามแก้ไขเรา แก้ไขชีวิตของเรา
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเอามาเปิดเผย เอามาจําแนกแจกแจง การเจริญสติเป็นลักษณะอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่เกิดเขาก่อตัวอย่างไร เขาเกิดอย่างไร เรารู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุมได้ ระดับไหน แล้วก็ขันธ์ห้า ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม มีอะไรบ้างที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองรูป กองร่างกาย แล้วก็กองนาม กองรูป ทวารทั้งหก หู ตา จมูก ลิ้น กาย เขาทำหน้าที่เป็นทางผ่าน ถ้าเรามีสติคอยสังเกตใจของเราเราก็จะเห็นใจของเราเกิดความยินดียินร้าย ผลักไส หรือว่าดึงเข้ามาหรือไม่ ทั้งความอยากทั้งความไม่ยาก
ความเกิดของใจนั่นแหละคือความหลงอันละเอียดที่สุด ของดีมีอยู่ในกายของเรา เราพยายามค้นคว้า พยายามทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริง ขณะที่กําลังกายของเรายังมีกําลังอยู่ หมดกําลัง หมดลมหายใจ มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป เราก็ต้องพยายาม ละบาป สร้างบุญ เจริญกุศล ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในปัจจัยสี่ ให้รอบรู้ในโลกธรรม ให้รอบรู้ในเรื่องของหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ การเกิดการดับของใจ การคลายความหลงทำไมใจถึงหลง ทำไมใจถึงเกิด กิเลสหยาบเป็นอย่างนี้ กิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้
การเจริญสติที่ต่อเนื่อง ถ้าเรารู้เท่าทันการเกิด การรวมการร่วมของใจกับขันธ์ห้า ใจก็จะหงายขึ้นมา ใจก็จะดีดออก หรือว่าแยกรูปแยกนาม กําลังสติของเราก็จะตามค้นคว้า กําลังสติของเราก็จะเริ่มเป็นมหาสติ มหาปัญญา ค้นคว้า ให้รู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่าง จนไม่มีอะไรที่จะค้นคว้า สติปัญญาของเราถึงจะหยุด นั่นแหละที่ท่านบอกว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน ‘ตน’ ตัวแรกคือตัวสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ ‘ตน’ ตัวที่สองก็คือตัวใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เห็นความเป็นจริงในร่างกายของเรา ถ้าเราไม่ดำเนินชีวิตของเรา ไม่มีใครที่จะดำเนินให้เราได้ มีอะไรที่ยังขาดตกบกพร่อง เราก็รีบแก้ไข เพียงแค่ระดับของสมมติ เราก็พยายามยังสมมติของเราให้ไม่ให้ได้ลําบาก ให้ความเป็นอยู่ของเราให้อยู่ดีมีความสุข จนกว่าเขาจะหมดลมหายใจ
สมมติวิมุตติก็อยู่ด้วยกัน ใจกับกายก็อาศัยกันอยู่ แต่เขาก็ยังจำแนกแจกแจงได้ด้วยสติด้วยปัญญา ถ้าเราแยกแยะไม่ได้ เขาก็รวมกันไปเป็นสิ่งเดียวกัน เราก็คิดว่าเราคิดเราทำเป็นของของเรา ทั้งที่รู้ๆ มันหลงอยู่ในความรู้อยู่ ถ้าเราไม่ได้เจริญสติหรือว่ามาสร้างผู้รู้ตัวใหม่เข้าไปเห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล ต้องเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ขยันในการทำความเข้าใจ ขยันในการละกิเลส ขยันในการวิเคราะห์ มองทะลุปรุโปร่งว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจน ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 29 กันยายน 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ ละไม่ได้ ก็ขอให้หยุด ขณะที่เรากําลังเจริญสติ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว หายใจยาว หายใจเข้าสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ นั่นแหละเขาเรียกว่า สติรู้กาย หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เขาเรียกว่า รู้ทั้งหายใจเข้าหายใจออก เขาเรียกว่า ปัจจุบันธรรม
เราทำอย่างไรถึงจะสร้างความรู้ตัวตรงนี้ ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง จนเอาไปใช้การใช้งาน เอาไปอบรมใจของเราได้ จนเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนามได้ เราก็จะเข้าใจในความหมาย ในคําสอนของพระพุทธองค์ คําว่า อัตตาอนัตตา เป็นลักษณะอย่างนี้ สมมติวิมุตติเป็นลักษณะอย่างนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเราเป็นลักษณะอย่างนี้ วิญญาณในกายหรือว่าตัวใจของเราเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจของเรา ถ้าเขาไม่เกิดเขาก็นิ่ง ถ้าเขาไม่มีกิเลสเขาก็ว่าง แต่เวลานี้ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด สารพัดอย่าง ทั้งเป็นทาสกิเลส
ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจแล้วก็รู้จักแก้ไขใจของเราด้วยการสร้างตบะบารมี เรามีความเกียจคร้านเราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียรให้มีให้เกิดขึ้น เรามีความรับผิดชอบหรือไม่ เรามีสัจจะกับตัวเองหรือเปล่า เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรารู้จักการขัดเกลารู้จักละกิเลสหรือเปล่า ศรัทธานั้นมีอยู่ แต่ขอให้เป็นศรัทธาที่เกิดจากการเจริญภาวนา รู้ด้วยเห็นด้วยเข้าถึงด้วย ไม่ใช่ว่าศรัทธาแบบหลงงมงาย เราก็ต้องพยายามแก้ไขเรา แก้ไขชีวิตของเรา
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเอามาเปิดเผย เอามาจําแนกแจกแจง การเจริญสติเป็นลักษณะอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่เกิดเขาก่อตัวอย่างไร เขาเกิดอย่างไร เรารู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุมได้ ระดับไหน แล้วก็ขันธ์ห้า ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม มีอะไรบ้างที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองรูป กองร่างกาย แล้วก็กองนาม กองรูป ทวารทั้งหก หู ตา จมูก ลิ้น กาย เขาทำหน้าที่เป็นทางผ่าน ถ้าเรามีสติคอยสังเกตใจของเราเราก็จะเห็นใจของเราเกิดความยินดียินร้าย ผลักไส หรือว่าดึงเข้ามาหรือไม่ ทั้งความอยากทั้งความไม่ยาก
ความเกิดของใจนั่นแหละคือความหลงอันละเอียดที่สุด ของดีมีอยู่ในกายของเรา เราพยายามค้นคว้า พยายามทำความเข้าใจให้รู้แจ้งเห็นจริง ขณะที่กําลังกายของเรายังมีกําลังอยู่ หมดกําลัง หมดลมหายใจ มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป เราก็ต้องพยายาม ละบาป สร้างบุญ เจริญกุศล ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในปัจจัยสี่ ให้รอบรู้ในโลกธรรม ให้รอบรู้ในเรื่องของหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ การเกิดการดับของใจ การคลายความหลงทำไมใจถึงหลง ทำไมใจถึงเกิด กิเลสหยาบเป็นอย่างนี้ กิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้
การเจริญสติที่ต่อเนื่อง ถ้าเรารู้เท่าทันการเกิด การรวมการร่วมของใจกับขันธ์ห้า ใจก็จะหงายขึ้นมา ใจก็จะดีดออก หรือว่าแยกรูปแยกนาม กําลังสติของเราก็จะตามค้นคว้า กําลังสติของเราก็จะเริ่มเป็นมหาสติ มหาปัญญา ค้นคว้า ให้รู้แจ้งเห็นจริงทุกอย่าง จนไม่มีอะไรที่จะค้นคว้า สติปัญญาของเราถึงจะหยุด นั่นแหละที่ท่านบอกว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน ‘ตน’ ตัวแรกคือตัวสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ ‘ตน’ ตัวที่สองก็คือตัวใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เห็นความเป็นจริงในร่างกายของเรา ถ้าเราไม่ดำเนินชีวิตของเรา ไม่มีใครที่จะดำเนินให้เราได้ มีอะไรที่ยังขาดตกบกพร่อง เราก็รีบแก้ไข เพียงแค่ระดับของสมมติ เราก็พยายามยังสมมติของเราให้ไม่ให้ได้ลําบาก ให้ความเป็นอยู่ของเราให้อยู่ดีมีความสุข จนกว่าเขาจะหมดลมหายใจ
สมมติวิมุตติก็อยู่ด้วยกัน ใจกับกายก็อาศัยกันอยู่ แต่เขาก็ยังจำแนกแจกแจงได้ด้วยสติด้วยปัญญา ถ้าเราแยกแยะไม่ได้ เขาก็รวมกันไปเป็นสิ่งเดียวกัน เราก็คิดว่าเราคิดเราทำเป็นของของเรา ทั้งที่รู้ๆ มันหลงอยู่ในความรู้อยู่ ถ้าเราไม่ได้เจริญสติหรือว่ามาสร้างผู้รู้ตัวใหม่เข้าไปเห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล ต้องเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ขยันในการทำความเข้าใจ ขยันในการละกิเลส ขยันในการวิเคราะห์ มองทะลุปรุโปร่งว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจน ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ