![](/sites/default/files/styles/full_screen/public/2023-07/ThumbNail%20%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B5%2062-30.jpg?itok=RWX_RX3n)
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 30
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 30
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 30
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 23 มีนาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อม การน้อมมองเข้าไปดูรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา การสร้างความรู้ตัว ความรู้ตัวไม่เด่นชัด เราก็พยายามสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหาย ถ้าบังคับลมหายก็อึดอัด บางทีกายก็อึดอัด บางทีสมองก็ตึง บางทีใจก็ตึงเราพยายามหายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด
การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ อันนี้ก็เป็นแค่เพียงอุบายให้ความรู้สึกให้ลมกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน เวลาหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม พยายามฝึกให้เกิดความเคยชินตั้งแต่ตื่นขึ้น เราอย่าไปนึกเอาไปคิดเอา
ความนึกความคิดนั้นมีอยู่เดิม เขาเรียกว่า ‘ปัญญาโลกีย์’ ปัญญาที่ใจยังเกิดยังหลงอยู่ เราต้องมาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ให้ต่อเนื่อง แล้วก็เอาไปใช้การใช้งาน เอาไปอบรมใจของเราให้ได้ถ้าอบรมใจไม่ได้ ก็ใช้..หยุดเอาไปควบคุมใจ ใช้สมถะเข้าไปหยุดเข้าไปดับ ตั้งสติอยู่กับลมหายใจ ใจก็จะกลับมาอยู่กับลมหายใจ ฝึกบ่อยๆ ใจของเราก็จะนิ่งขึ้น ฝึกบ่อยๆ จนกำลังสติของเราต่อเนื่อง จนเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าออกจากความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’
ถ้าเรามีสติต่อเนื่องเราก็จะเห็นใจเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิด ถ้าเรารู้ทันตรงนั้นใจก็จะดีดออกจากความคิด หงายขึ้นมา เขาเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ นี่แหละที่เรียกว่า ‘เห็นถูก’ เห็นใจคลายออกจากความหลง เพียงแค่เริ่มต้นของสัมมาทิฏฐิ ถ้าเราขาดการตามทำความเข้าใจ เห็นเหตุเห็นผลตามดูรู้ความเป็นจริง ใจเขาก็จะเข้าไปรวมกันกับความคิดเหมือนเดิม
ถ้าใจแยกได้คลายได้เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อัตตากับอนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ สมมติกับ วิมุตติเป็นลักษณะอย่างนี้ การตามดูรู้เห็นความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจคำว่า ‘อนิจจัง’ ความไม่เที่ยงของความคิด ‘ทุกขัง’ ‘อนัตตา’ เวลาจบไปแล้วอนัตตาความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ ที่ท่านเปรียบเสมือนกันกับพยับแดด
เวลาเราเดินตามถนนหนทางร้อนๆ เราก็จะเห็นเปลวแดดเหมือนกับมีตัวมีตน เราเดินเข้าไปใกล้ๆ สิ่งนั้นก็ไม่มีอะไร ความคิดตัวนี้ก็เหมือนกันท่านเปรียบเอาไว้เหมือนกับหลายสิ่งหลายอย่าง บางทีเปรียบเหมือนกับคลื่นทะเล เวลาเราเดินอยู่ตามชายหาดชายฝั่ง คลื่นทะเลเราก็มองเห็นเป็นลูกๆ อยู่ เวลาเข้ากระทบฝั่งแล้วเขาก็หายสลายไป ลูกใหม่ก็เข้ามา ความคิดตัวนี้ก็เหมือนกัน อาการเขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจของเราเข้าไปรวมจนเป็นสิ่งเดียวกัน รวมกันไปด้วยกัน เราก็รู้อยู่แค่ว่าเราคิดเราทำ ทำด้วยอำนาจของความหลงตรงนี้อยู่
ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจ เข้าไปดับ เข้าไปหยุด เข้าไปวิเคราะห์ จนใจของเราคลายออกจากตรงนี้ เราก็จะมองเห็นความเป็นจริง แล้วตามทำความเข้าใจ กำลังสติที่เราฝึกขึ้นมาก็จะเริ่มเป็นมหาสติ จากมหาสติก็ตามดูตามค้นคว้า เอาไม่อยู่ จนกลายเป็นมหาปัญญา รอบรู้ในดวงจิตรอบรู้ในดวงวิญญาณ ว่าเราละกิเลสตัวไหนได้บ้าง กิเลสตัวไหนที่เรายังละไม่ได้ กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราก็พยายามรู้จักดับ รู้จักหยุด รู้จักแก้ไข
ใจเกิดความหลง ใจเกิดความโลภก็พยายามละความโลภ ใจเกิดความโกรธเราก็พยายามละความโกรธ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ให้อภัยทานอโหสิกรรม ใจของเรามีความแข็งกร้าวเราก็ละความแข็งกร้าว สร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน เรามีความเกียจคร้านเราก็สร้างความขยันสร้างความรับผิดชอบ ฝึกหัดขัดเกลาตัวเองให้เป็นบุคคลที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูกตเวที มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความเด็ดขาด มีสัจจะกับตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา
สักวันหนึ่งเราก็จะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง อย่าพากันปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก อย่าไปคิดว่าทำไม่ได้ เราต้องทำได้ ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่
ท่านถึงบอกว่าให้เจริญสติเป็นเพื่อนใจอบรมใจ เป็นเพื่อนใจอยู่ตลอดเวลา ตนถึงเป็นที่พึ่งของตน ที่นี้สมมติอะไรเราขาดตกบกพร่องเราก็พยายามแก้ไขทำหน้าที่ของเราให้ดี ทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้อง ไปอยู่ที่ไหนก็จะมีตั้งแต่ความสุข ถ้าเราไม่เกียจคร้านขยันหมั่นเพียร บุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศก็ย่อมจะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วได้ไว ถ้าเดินตามทางของพระพุทธองค์สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ทำนะ ไหว้พระพร้อมๆ กันพากันไปทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 23 มีนาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อม การน้อมมองเข้าไปดูรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา การสร้างความรู้ตัว ความรู้ตัวไม่เด่นชัด เราก็พยายามสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหาย ถ้าบังคับลมหายก็อึดอัด บางทีกายก็อึดอัด บางทีสมองก็ตึง บางทีใจก็ตึงเราพยายามหายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด
การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ อันนี้ก็เป็นแค่เพียงอุบายให้ความรู้สึกให้ลมกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน เวลาหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม พยายามฝึกให้เกิดความเคยชินตั้งแต่ตื่นขึ้น เราอย่าไปนึกเอาไปคิดเอา
ความนึกความคิดนั้นมีอยู่เดิม เขาเรียกว่า ‘ปัญญาโลกีย์’ ปัญญาที่ใจยังเกิดยังหลงอยู่ เราต้องมาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ให้ต่อเนื่อง แล้วก็เอาไปใช้การใช้งาน เอาไปอบรมใจของเราให้ได้ถ้าอบรมใจไม่ได้ ก็ใช้..หยุดเอาไปควบคุมใจ ใช้สมถะเข้าไปหยุดเข้าไปดับ ตั้งสติอยู่กับลมหายใจ ใจก็จะกลับมาอยู่กับลมหายใจ ฝึกบ่อยๆ ใจของเราก็จะนิ่งขึ้น ฝึกบ่อยๆ จนกำลังสติของเราต่อเนื่อง จนเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าออกจากความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’
ถ้าเรามีสติต่อเนื่องเราก็จะเห็นใจเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิด ถ้าเรารู้ทันตรงนั้นใจก็จะดีดออกจากความคิด หงายขึ้นมา เขาเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ นี่แหละที่เรียกว่า ‘เห็นถูก’ เห็นใจคลายออกจากความหลง เพียงแค่เริ่มต้นของสัมมาทิฏฐิ ถ้าเราขาดการตามทำความเข้าใจ เห็นเหตุเห็นผลตามดูรู้ความเป็นจริง ใจเขาก็จะเข้าไปรวมกันกับความคิดเหมือนเดิม
ถ้าใจแยกได้คลายได้เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อัตตากับอนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ สมมติกับ วิมุตติเป็นลักษณะอย่างนี้ การตามดูรู้เห็นความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจคำว่า ‘อนิจจัง’ ความไม่เที่ยงของความคิด ‘ทุกขัง’ ‘อนัตตา’ เวลาจบไปแล้วอนัตตาความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ ที่ท่านเปรียบเสมือนกันกับพยับแดด
เวลาเราเดินตามถนนหนทางร้อนๆ เราก็จะเห็นเปลวแดดเหมือนกับมีตัวมีตน เราเดินเข้าไปใกล้ๆ สิ่งนั้นก็ไม่มีอะไร ความคิดตัวนี้ก็เหมือนกันท่านเปรียบเอาไว้เหมือนกับหลายสิ่งหลายอย่าง บางทีเปรียบเหมือนกับคลื่นทะเล เวลาเราเดินอยู่ตามชายหาดชายฝั่ง คลื่นทะเลเราก็มองเห็นเป็นลูกๆ อยู่ เวลาเข้ากระทบฝั่งแล้วเขาก็หายสลายไป ลูกใหม่ก็เข้ามา ความคิดตัวนี้ก็เหมือนกัน อาการเขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจของเราเข้าไปรวมจนเป็นสิ่งเดียวกัน รวมกันไปด้วยกัน เราก็รู้อยู่แค่ว่าเราคิดเราทำ ทำด้วยอำนาจของความหลงตรงนี้อยู่
ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจ เข้าไปดับ เข้าไปหยุด เข้าไปวิเคราะห์ จนใจของเราคลายออกจากตรงนี้ เราก็จะมองเห็นความเป็นจริง แล้วตามทำความเข้าใจ กำลังสติที่เราฝึกขึ้นมาก็จะเริ่มเป็นมหาสติ จากมหาสติก็ตามดูตามค้นคว้า เอาไม่อยู่ จนกลายเป็นมหาปัญญา รอบรู้ในดวงจิตรอบรู้ในดวงวิญญาณ ว่าเราละกิเลสตัวไหนได้บ้าง กิเลสตัวไหนที่เรายังละไม่ได้ กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราก็พยายามรู้จักดับ รู้จักหยุด รู้จักแก้ไข
ใจเกิดความหลง ใจเกิดความโลภก็พยายามละความโลภ ใจเกิดความโกรธเราก็พยายามละความโกรธ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ให้อภัยทานอโหสิกรรม ใจของเรามีความแข็งกร้าวเราก็ละความแข็งกร้าว สร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน เรามีความเกียจคร้านเราก็สร้างความขยันสร้างความรับผิดชอบ ฝึกหัดขัดเกลาตัวเองให้เป็นบุคคลที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูกตเวที มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความเด็ดขาด มีสัจจะกับตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา
สักวันหนึ่งเราก็จะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง อย่าพากันปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก อย่าไปคิดว่าทำไม่ได้ เราต้องทำได้ ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะว่าตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่
ท่านถึงบอกว่าให้เจริญสติเป็นเพื่อนใจอบรมใจ เป็นเพื่อนใจอยู่ตลอดเวลา ตนถึงเป็นที่พึ่งของตน ที่นี้สมมติอะไรเราขาดตกบกพร่องเราก็พยายามแก้ไขทำหน้าที่ของเราให้ดี ทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้อง ไปอยู่ที่ไหนก็จะมีตั้งแต่ความสุข ถ้าเราไม่เกียจคร้านขยันหมั่นเพียร บุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศก็ย่อมจะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วได้ไว ถ้าเดินตามทางของพระพุทธองค์สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ทำนะ ไหว้พระพร้อมๆ กันพากันไปทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ