![](/sites/default/files/styles/full_screen/public/2023-07/ThumbNail%20%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%B5%2062-12.jpg?itok=swvY88WB)
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 12
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 12
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 12
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 27 มกราคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ตลอด ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ เพียงแค่การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรานี่แหละ ที่ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ หายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่
ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง ทั้งหายใจเข้า หายใจออกให้เชื่อมโยง จาก 1 ครั้ง 2 ครั้ง เป็นนาที 2 นาที 3 นาที ความเชื่อมโยงก็จะมากขึ้นๆๆ
ความรู้ตัวต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวลึกลงไป เราก็จะรู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติ ใจที่ปกติ คือใจที่ไม่เกิด เราก็จะเห็น เห็น รู้ความปกติ เวลาใจเกิด ใจจะเริ่มปรุงแต่ง เราก็จะเห็นอาการของใจผุดขึ้นมา บางครั้งบางคราว เราก็อาจจะเห็นความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวม ตรงนี้แหละเขาเรียกว่า ‘โมหะ’ ถ้าเราสังเกตเห็น ใจคลายออกจากความคิดตรงนี้ เขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูกในหลักธรรม
เห็นถูกในข้อแรกในอริยมรรคในองค์แปด คือสัมมาทิฏฐิ เห็นการแยก เห็นการคลาย อันนี้เพียงแค่เริ่มต้นของปัญญาความรู้แจ้ง ถ้าเราทำตามความเข้าใจ จิตว่างรับรู้อยู่ เราก็จะเข้าใจคำว่าอนิจจัง ความไม่เที่ยง เวลาเกิดขึ้นตั้งอยู่ มันเป็นทุกข์ คือความไม่เที่ยงความเปลี่ยนผันแปรเวลาดับไป ความว่างเปล่าอนัตตาเข้ามาปรากฏ นี่แหละมีกันทุกคน มีเยอะด้วย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจของเราเคลื่อนเข้าไปรวมตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ จนเป็นสิ่งเดียวกันจนไปด้วยกัน คิดก็รู้ ทำก็รู้ ทั้งที่เขารวมกันแล้ว
นี่แหละ ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไป สร้างขึ้นมา ให้มีให้ต่อเนื่อง เกิดขึ้นที่กาย แล้วเอาไปอบรมใจจนกว่าใจจะคลายออกจากขันธ์ห้า เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักละ รู้จักดับ
ตามสภาพความเป็นจริง สภาพใจของแต่ละบุคคลนั้น สะอาดบริสุทธิ์ ความไม่เข้าใจ ความหลงมานาน เขาถึงเกิด ความเกิดนี่แหละ คือความหลงอันละเอียด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด แต่เขาหลงมาเกิด เกิดอยู่ในภพมนุษย์ อันนี้มีสมมติคือร่างกาย ส่วนร่างกายส่วนรูปเข้าครอบงำ ทีนี้ก็ทางด้านจิตวิญญาณ ทางด้านนามธรรมอีก ความคิดอีก ในกายของเรานี่แหละ เขาก็เลยยึดว่าเป็นตัวตนว่าเป็นสิ่งๆ เดียว แต่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ การเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ หาเหตุหาผล จนแยกจนคลาย จนตามดูทำความเข้าใจรู้เรื่อง ว่าอะไรที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ แต่พวกเราเห็นเป็นรวมกันไปหมด
ที่ท่านว่าขันธ์ห้า เป็นกอง กองวิญญาณก็คือตัวใจของเรา กองรูปก็คือร่างกายของเรา กองความคิด กองอารมณ์ เรื่องอดีต เรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกลางๆ ถ้าเราไม่ได้สังเกตจริงๆ นี่ยาก ถ้าเราสังเกตไม่ต่อเนื่องไม่มีความเป็นจริง ไม่มีความต่อเนื่องได้นี่ก็ยากอีก กิเลสเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ตัวใจเขาเกิดมานานเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ขันธ์ห้า เขากับใจ เขารวมกันมานาน เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็มีเหตุ มีผลของเขา
เราต้องเจริญสติ สร้างตบะ สร้างบารมี ใจมีความโลภ เราก็ละความโลภ มีความโกรธ เราก็ละความโกรธ ปรับปรุงสภาพใจของเราให้อยู่ในความอ่อนน้อม ให้อยู่ในความเมตตา ให้อยู่ในพรหมวิหาร เป็นบุคคลที่มีความเพียร เป็นบุคคลที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย หัดสังเกต หัดวิเคราะห์ เราก็จะเข้าใจ เข้าถึงได้สักวันหนึ่ง อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง บุญสมมติเราก็ทำไม่ใช่ว่าไม่ทำ บุญสมมติทำเพื่อขัดเกลากิเลส ทุกวิถีทางที่จะเอากิเลสออกจากใจของเรา กิเลสก็มีหลายอย่าง กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด มีหมด ก็ต้องพยายามกันนะ
ทุกคนก็มีบุญในระดับหนึ่ง ทุกคนก็มีศรัทธาอยู่ในระดับหนึ่ง แต่เป็นศรัทธาที่ยังขาดการพิจารณาในรายละเอียด ในใจของเราอีกเยอะ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ รู้จักบริหารใจ รู้จักบริหารกายของเรา แต่ละวันตื่นขึ้นมาเรามีความรับผิดชอบหรือไม่ เรามีความเสียสละหรือไม่ หรือว่ามีแต่ความเกียจคร้าน หรือว่ามีแต่ความเห็นแก่ตัวความเห็นแก่ตัวความตระหนี่เหนียวแน่น ก็ค่อยสร้างสะสมจากน้อยๆ ไปมากๆ มากขึ้นๆ จนเต็มอัตราศึก เราก็ต้องขัดเกลาเอาออก
กิเลสนี่มันเป็นยางเหนียว อย่าไปอาลัยอาวรณ์กับกิเลส ทุกเรื่องเลยในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จนกระทั่งหมดลมหายใจ จนกระทั่งตาย กายเนื้อแตกดับ ทีนี้ตัวใจก็ยังต้องไปต่อ ถ้าตราบใดที่ยังมีการเกิดอยู่ ยังมีกิเลสอยู่ จะเป็นกิเลสฝ่ายกุศลหรืออกุศลเท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามกัน
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ถ้าเราไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเราแล้ว ก็ไม่มีใครจะช่วยเหลือตัวเราได้นอกจากตัวของเรา พยายามหมั่นเจริญ สติไปพร่ำสอนใจของเรา ครูบาอาจารย์ตำราก็เป็นแค่เพียงแผนที่ ชี้แนะแนวทางให้ ครูบาอาจารย์นั้นก็ พระบรมครู พระพุทธองค์ ท่านได้ค้นพบมาตั้งหลายร้อย หลายพันปี สัจธรรมก็ยังมีอยู่ ความบริสุทธิ์ของใจก็ยังมีอยู่ พุทธะ ผู้รู้ รู้ใจของเรา ก็ต้องพยายาม
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย หมั่นพร่ำสอนตัวเรา บุคคลฉลาด นักปราชญ์ฟังนิดเดียวเข้าถึง จุดหมายปลายทางได้เลย ไม่ต้องไปรีรอ คนที่ยังไม่เข้าใจก็ต้องฝึกฝน สร้างความเพียร เพราะว่าคนเราก็ต่างระดับ บางคนก็มีกิเลสมาก บางคนก็มีกิเลสน้อย บางคนก็เบาบาง บางคนก็สะกิดนิดเดียวก็ทะลุปรุโปร่ง บางคนก็เขย่าแล้วเขย่าอีกฉุดแล้วฉุดอีกก็ยังไม่รู้ก็ต้องปล่อยไปตามยถากรรม ก็ต้องพยายามกัน
วันนี้หลวงพ่อก็ขออนุโมทนาสาธุกับทุกคน เอาล่ะ ทุกคนกราบพระ ไหว้พระพร้อมๆ กัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 27 มกราคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ตลอด ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ เพียงแค่การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรานี่แหละ ที่ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ หายใจเข้ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่
ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง ทั้งหายใจเข้า หายใจออกให้เชื่อมโยง จาก 1 ครั้ง 2 ครั้ง เป็นนาที 2 นาที 3 นาที ความเชื่อมโยงก็จะมากขึ้นๆๆ
ความรู้ตัวต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวลึกลงไป เราก็จะรู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติ ใจที่ปกติ คือใจที่ไม่เกิด เราก็จะเห็น เห็น รู้ความปกติ เวลาใจเกิด ใจจะเริ่มปรุงแต่ง เราก็จะเห็นอาการของใจผุดขึ้นมา บางครั้งบางคราว เราก็อาจจะเห็นความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวม ตรงนี้แหละเขาเรียกว่า ‘โมหะ’ ถ้าเราสังเกตเห็น ใจคลายออกจากความคิดตรงนี้ เขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูกในหลักธรรม
เห็นถูกในข้อแรกในอริยมรรคในองค์แปด คือสัมมาทิฏฐิ เห็นการแยก เห็นการคลาย อันนี้เพียงแค่เริ่มต้นของปัญญาความรู้แจ้ง ถ้าเราทำตามความเข้าใจ จิตว่างรับรู้อยู่ เราก็จะเข้าใจคำว่าอนิจจัง ความไม่เที่ยง เวลาเกิดขึ้นตั้งอยู่ มันเป็นทุกข์ คือความไม่เที่ยงความเปลี่ยนผันแปรเวลาดับไป ความว่างเปล่าอนัตตาเข้ามาปรากฏ นี่แหละมีกันทุกคน มีเยอะด้วย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจของเราเคลื่อนเข้าไปรวมตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ จนเป็นสิ่งเดียวกันจนไปด้วยกัน คิดก็รู้ ทำก็รู้ ทั้งที่เขารวมกันแล้ว
นี่แหละ ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไป สร้างขึ้นมา ให้มีให้ต่อเนื่อง เกิดขึ้นที่กาย แล้วเอาไปอบรมใจจนกว่าใจจะคลายออกจากขันธ์ห้า เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักละ รู้จักดับ
ตามสภาพความเป็นจริง สภาพใจของแต่ละบุคคลนั้น สะอาดบริสุทธิ์ ความไม่เข้าใจ ความหลงมานาน เขาถึงเกิด ความเกิดนี่แหละ คือความหลงอันละเอียด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด แต่เขาหลงมาเกิด เกิดอยู่ในภพมนุษย์ อันนี้มีสมมติคือร่างกาย ส่วนร่างกายส่วนรูปเข้าครอบงำ ทีนี้ก็ทางด้านจิตวิญญาณ ทางด้านนามธรรมอีก ความคิดอีก ในกายของเรานี่แหละ เขาก็เลยยึดว่าเป็นตัวตนว่าเป็นสิ่งๆ เดียว แต่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ การเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ หาเหตุหาผล จนแยกจนคลาย จนตามดูทำความเข้าใจรู้เรื่อง ว่าอะไรที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ แต่พวกเราเห็นเป็นรวมกันไปหมด
ที่ท่านว่าขันธ์ห้า เป็นกอง กองวิญญาณก็คือตัวใจของเรา กองรูปก็คือร่างกายของเรา กองความคิด กองอารมณ์ เรื่องอดีต เรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกลางๆ ถ้าเราไม่ได้สังเกตจริงๆ นี่ยาก ถ้าเราสังเกตไม่ต่อเนื่องไม่มีความเป็นจริง ไม่มีความต่อเนื่องได้นี่ก็ยากอีก กิเลสเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ตัวใจเขาเกิดมานานเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ขันธ์ห้า เขากับใจ เขารวมกันมานาน เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็มีเหตุ มีผลของเขา
เราต้องเจริญสติ สร้างตบะ สร้างบารมี ใจมีความโลภ เราก็ละความโลภ มีความโกรธ เราก็ละความโกรธ ปรับปรุงสภาพใจของเราให้อยู่ในความอ่อนน้อม ให้อยู่ในความเมตตา ให้อยู่ในพรหมวิหาร เป็นบุคคลที่มีความเพียร เป็นบุคคลที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย หัดสังเกต หัดวิเคราะห์ เราก็จะเข้าใจ เข้าถึงได้สักวันหนึ่ง อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง บุญสมมติเราก็ทำไม่ใช่ว่าไม่ทำ บุญสมมติทำเพื่อขัดเกลากิเลส ทุกวิถีทางที่จะเอากิเลสออกจากใจของเรา กิเลสก็มีหลายอย่าง กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด มีหมด ก็ต้องพยายามกันนะ
ทุกคนก็มีบุญในระดับหนึ่ง ทุกคนก็มีศรัทธาอยู่ในระดับหนึ่ง แต่เป็นศรัทธาที่ยังขาดการพิจารณาในรายละเอียด ในใจของเราอีกเยอะ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ รู้จักบริหารใจ รู้จักบริหารกายของเรา แต่ละวันตื่นขึ้นมาเรามีความรับผิดชอบหรือไม่ เรามีความเสียสละหรือไม่ หรือว่ามีแต่ความเกียจคร้าน หรือว่ามีแต่ความเห็นแก่ตัวความเห็นแก่ตัวความตระหนี่เหนียวแน่น ก็ค่อยสร้างสะสมจากน้อยๆ ไปมากๆ มากขึ้นๆ จนเต็มอัตราศึก เราก็ต้องขัดเกลาเอาออก
กิเลสนี่มันเป็นยางเหนียว อย่าไปอาลัยอาวรณ์กับกิเลส ทุกเรื่องเลยในชีวิตตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จนกระทั่งหมดลมหายใจ จนกระทั่งตาย กายเนื้อแตกดับ ทีนี้ตัวใจก็ยังต้องไปต่อ ถ้าตราบใดที่ยังมีการเกิดอยู่ ยังมีกิเลสอยู่ จะเป็นกิเลสฝ่ายกุศลหรืออกุศลเท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามกัน
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ถ้าเราไม่รู้จักช่วยเหลือตัวเราแล้ว ก็ไม่มีใครจะช่วยเหลือตัวเราได้นอกจากตัวของเรา พยายามหมั่นเจริญ สติไปพร่ำสอนใจของเรา ครูบาอาจารย์ตำราก็เป็นแค่เพียงแผนที่ ชี้แนะแนวทางให้ ครูบาอาจารย์นั้นก็ พระบรมครู พระพุทธองค์ ท่านได้ค้นพบมาตั้งหลายร้อย หลายพันปี สัจธรรมก็ยังมีอยู่ ความบริสุทธิ์ของใจก็ยังมีอยู่ พุทธะ ผู้รู้ รู้ใจของเรา ก็ต้องพยายาม
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย หมั่นพร่ำสอนตัวเรา บุคคลฉลาด นักปราชญ์ฟังนิดเดียวเข้าถึง จุดหมายปลายทางได้เลย ไม่ต้องไปรีรอ คนที่ยังไม่เข้าใจก็ต้องฝึกฝน สร้างความเพียร เพราะว่าคนเราก็ต่างระดับ บางคนก็มีกิเลสมาก บางคนก็มีกิเลสน้อย บางคนก็เบาบาง บางคนก็สะกิดนิดเดียวก็ทะลุปรุโปร่ง บางคนก็เขย่าแล้วเขย่าอีกฉุดแล้วฉุดอีกก็ยังไม่รู้ก็ต้องปล่อยไปตามยถากรรม ก็ต้องพยายามกัน
วันนี้หลวงพ่อก็ขออนุโมทนาสาธุกับทุกคน เอาล่ะ ทุกคนกราบพระ ไหว้พระพร้อมๆ กัน