ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 94 วันที่ 18 ธันวาคม 2557

ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 94 วันที่ 18 ธันวาคม 2557
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ผู้บรรยาย
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ชื่อตอน
ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 94 วันที่ 18 ธันวาคม 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
ตามความเป็นจริง ชุดที่ 5 (ลำดับที่ 81-98)
ถอดความฉบับเต็ม
ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 94
วันที่ 18 ธันวาคม 2557


ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก หยุดวางภาระหน้าที่ทางสมมติ ทางบ้านช่องเราก็หยุดมาแล้ว ทีนี้เราลองมาสร้างความรู้สึกรับรู้ เวลาลมหายใจเข้าหายใจออกให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนาทีสองนาทีก็ยังดี ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก


ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาวในกายของเราก็สบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละ ความรู้สึกตัว เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’


ถ้าเราพยายามรู้ให้ต่อเนื่องทั้งลมหายใจเข้าหายใจออก โดยธรรมชาติที่สุด ความรู้ตัวของเราก็จะต่อเนื่อง ถ้าความรู้ตัวพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นใหม่ พลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นใหม่ ให้เกิดความเคยชิน ลมหายใจหยาบเป็นอย่างนี้ ลมหายใจละเอียดเป็นอย่างนี้ ลมหายใจยาวเป็นอย่างนี้ ลมหายใจสั้นเป็นอย่างนี้ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง นี่เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’


ถ้าเรามีสติรู้กาย บางครั้งบางคราวเราอาจะรู้ลึกลงไป เวลาใจเขาปรุงแต่ง เขาเกิด หรือว่า วิญญาณในกายของเรา ปรุงแต่งส่งออกไป ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ จะไปรู้ลักษณะอาการของใจ ส่วนมากเขาไปแล้วเราถึงรู้ หรือบางทีมีความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจเราถึงรู้ ทั้งที่รู้ๆ แต่การหยุด การแยก การคลาย การอบรมไม่มี มีแต่ปล่อยเลยตามเลย


นี่ก็เลยไม่เข้าใจในเรื่องคำว่า ‘สัมมาทิฎฐิ’ ความรู้แจ้งเห็นจริง วิปัสสนาญาณ การแยกรูปแยกนาม การตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริงทุกเรื่อง ก็เลยปิดกั้นตัวเองเอาไว้หมด แม้แต่ตัวใจเขาก็ยังปิดกั้นตัวเอง หาเหตุหาผลมาโต้แย้ง ขันธ์ห้าก็หาเหตุผลมาโต้แย้ง กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ กำลังตบะบารมีของเรามีไม่เพียงพอ มันก็เลยหลง เพียงแค่การเกิดก็หลง แต่เขาเกิดมานาน เขามาสร้างกายเนื้อมาปิดกั้นเอาไว้ แล้วก็มาสร้างความคิด ขันธ์ห้า อาการของขันธ์ห้ามาปิดกั้นตัวเองเอาไว้


เราต้องเจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ตามดูทุกกระเบียดนิ้ว เป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียร ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ จนค้นคว้าจนไม่มีอะไรเหลือ จนเหลือตั้งแต่สมมติ วิมุตติ มีแต่ดูกับรู้ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ เราก็ต้องพยายามนะ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง พยายามเจริญสติให้รู้ทุกอิริยาบถ อย่าไปมองข้าม


ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะมีการพลั้งเผลอ เพราะความไม่เคยชิน เราฝึก เราฝึกบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ไม่เข้าใจเท่าไหร่ก็ยิ่งฝึก การฝึกหัดปฏิบัติ จะคร่ำเคร่งมากมายถึงขนาดไหน วิธีการอย่างไรก็ช่าง จุดมุ่งหมายก็เพื่อที่จะละกิเลส ละกิเลส การเกิดของกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด


การคลายความหลง ถ้าเรารู้ความจริงแล้วใจก็ไม่เอาหรอกกิเลส ความอยากแม้แต่นิดเดียว แม้แต่การปรุงแต่งเขาก็ไม่ให้เกิด ถ้าเกิดก็เกิดด้วยปัญญา ปัญญาเกิดแทน ถ้าปัญญา แม้แต่ปัญญา ถ้าเป็นอกุศล ถ้ามีกิเลสอีก เราก็ยังไม่ให้เกิดอีก ให้มองโลกนี้อยู่ในความเป็นกลาง อยู่ในความว่าง เพราะว่ามีทั้งธรรมดำธรรมขาว ไม่หลงทั้งสองอย่าง แต่สร้างคุณงามความดี ให้เกิดประโยชน์อยู่ตลอดเวลา ต้องพยายาม สักวันหนึ่งก็คงจะเข้าใจ


ลองสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจนกันนะ


พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อ ให้รู้ทุกอิริยาบถ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง