ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 15 วันที่ 21 มีนาคม 2557

ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 15 วันที่ 21 มีนาคม 2557
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ผู้บรรยาย
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ชื่อตอน
ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 15 วันที่ 21 มีนาคม 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
ตามความเป็นจริง ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 15
วันที่ 21 มีนาคม 2557



ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสทั้งลมหายใจของเรา อย่าเพิ่งไปพิจารณาอะไรทั้งสิ้น เพียงแค่สร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกของเราให้ชัดเจน แล้วก็ให้ต่อเนื่อง แล้วก็ให้เชื่อมโยง ฟังไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน


การหายใจเข้ายาวมีความรู้สึกรับรู้เป็นลักษณะอย่างนี้ การหายใจออกยาวมีความรู้สึกรับรู้อยู่ ขณะลมหายใจออกกระทบปลายจมูกของเรา พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ถ้าเราฝึกให้เกิดความเคยชินแล้ว ความรู้ตัวก็จะต่อเนื่อง ก็จะเชื่อมโยง นี่แหละในหลักธรรมท่านเรียกว่า ‘สติสัมปชัญญะ-มีความรู้กายของเรา’


ส่วนใจนั้นเขาเกิดๆ ดับๆ ส่วนใจกับอาการของใจนั้นเขาเกิดๆ ดับๆ ของเขามีอยู่แล้ว เรามาสร้างตัวใหม่ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงก็จะไปเห็นการเกิดของใจ ใจเกิดกิเลสเราก็รู้จักดับ เราไปอบรมใจ ไปแก้ไขใจ จนกว่าใจของเราจะคลายออก ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ นี่แหละเขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ-ความรู้แจ้งเห็นจริง’


ก่อนที่จะรู้ตรงนี้เห็นตรงนี้ เราต้องมีพลังของการเจริญสติให้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ส่วนมากก็อาจจะมีอยู่ แต่ไม่ต่อเนื่อง ก็เลยไม่รู้เท่าทันใจ เท่าทันความคิด ก็เลยไปยึดมั่นถือมั่นเอาว่า ความคิดที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ห้า นั้นเป็นความคิดเป็นตัวเป็นตนของเราจริงๆ เป็นตัวเป็นตนของเราจริงๆ อยู่ในระดับของสมมติเท่านั้นเอง


แต่ในหลักธรรมเราต้องแจง ต้องแยกแยะ รู้เห็น รู้ต้นเหตุ หาเหตุหาผล ชี้เหตุชี้ผล จนใจมองเห็นความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง แม้แต่ใจก็ยังไม่เที่ยง ถ้าเขายังเกิดอยู่ ท่านถึงว่า ‘ใจเกิด จิตเกิด จิตไม่เที่ยง จิตไม่เที่ยง นิพพานไม่เที่ยง จิตเที่ยงนิพพานเที่ยง คือจิตไม่เกิด จิตก็เลยนิ่ง นิพพานก็เลยเที่ยง


ก่อนที่จะเข้าถึงคำคำนี้ได้ ก่อนที่จะเข้าถึงความหมายตรงนี้ได้ เราต้องแยกแยะทำความเข้าใจกับขันธ์ห้าของเราว่าอะไรเป็นอะไร ละกิเลสออกให้หมดจากจิตจากใจของเรา ดับความเกิดของใจของเราได้นั่นแหละ วางใจให้เป็นอิสรภาพนั่นแหละ เราก็จะรู้ก็จะเห็นความหมาย เข้าถึงภาษาธรรม-ภาษาโลก เข้าถึงความหมายของพระพุทธเจ้าที่ท่านสอนเรื่องอะไร


ก็ต้องพยายามกัน ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็พยายามทำ ทุกคนปฏิบัติธรรมกันมาดี แต่การทำความเข้าใจให้ละเอียดเท่านั้นที่ยังขาดความเพียรตรงนี้อยู่ ก็ต้องพยายามนะ


สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน


พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง