หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 99 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 99 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 5 (ลำดับที่81-102)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 99
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก หายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกพวกเราก็ขาดการสร้างความรู้ตัวตรงนี้กันมากเลยทีเดียว ปล่อยปละละเลย
การรู้ลมหายใจเข้าออก สัมผัสของลมที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา ในหลักธรรมท่านเรียกว่า ‘ความรู้ตัว รู้กายของเรา’ แต่เรารู้อยู่เป็นบางช่วง ทำอย่างไรเราถึงจะรู้ให้ต่อเนื่อง ตรงนี้แหละ เราก็ต้องพยายามประคับประคอง ความพลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ จนเกิดความเคยชินจนต่อเนื่อง ถ้าเราสร้างความรู้ตัวตรงนี้ต่อเนื่อง
ส่วนการเกิดการดับของวิญญาณในกายของเรานั้นเขามีมาตั้งแต่เดิม เขาหลงมาตั้งนาน เขาจะก่อตัวปรุงแต่งส่งออกไป หรือบางทีก็มีความคิดผุดขึ้นมาโดยที่เราไม่ตั้งใจคิด ซึ่งเรียกว่า ‘อาการของขันธ์ห้า’ ผุดขึ้นมา แล้วตัววิญญาณในตัวใจของเราจะกระโดดเข้าไปรวมเลยทีเดียว จนเป็นตัวเดียวก็ไปด้วยกัน นั่นแหละเราไปอาศัยความคิดตรงนั้น ผิดก็ผิดเลย ถูกก็ถูกเลย เพราะเขาหลงอยู่ในตัวตรงนั้นอยู่
เราต้องมาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ คือความรู้สึกรับรู้นี่แหละให้ต่อเนื่อง ถ้ากำลังสติของเราต่อเนื่อง เราก็จะเห็นการก่อตัวของขันธ์ห้ากับใจเคลื่อนเข้าไปรวมกัน ถ้าเราเห็นขณะเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกันปุ๊บ ใจก็จะดีดออก เหมือนเราขึงเชือกตึงๆ แล้วเอากรรไกรไปตัด มันจะดีดออกจากกัน เหมือนกับตัดวงกลม แล้วก็ตามเห็น ใจก็จะว่าง ความรู้ตัวของเราก็ตามเห็นการเกิดการดับของอาการของความคิดเป็นเรื่องอะไร เป็นเรื่องอดีตเรื่องอนาคต เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เป็นกลางๆ เขาเรียกว่า ‘อาการของขันธ์ห้า’ นั่นแหละใจของเราไปหลงความคิดตรงนั้น ก็หลงไปหมด จนเกิดอัตตาตัวตน
ส่วนรูปกายของเรานี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนรูป ไอ้ส่วนนามนั่น คือ ‘ใจ’ ที่แยกออกจากความคิดแล้วตามดู แล้วเราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ถ้าแยกได้ตรงนั้น ตามดูได้ตรงนั้น ใจก็วางอัตตาตัวตนได้ ใจของเราก็จะว่าง กายก็จะเบา ทีนี้กำลังสติของเราจะค้นคว้าให้ได้ทุกเรื่องหรือไม่ ตรงนี้สำคัญ ถ้าไปปล่อยปละละเลยอีก เขาก็จะซึมสู่สภาพเดิมอีก ยิ่งยากกว่าเก่าเสียอีก
แต่การทำบุญให้ทาน การสร้างตบะสร้างบารมี ความเสียสละ ละกิเลส ศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยตรงนี้ เชื่อบุญเชื่อบาปเชื่อกรรมตรงนี้มีกันอยู่ มีกันอยู่ แต่จะให้มันเต็มที่เต็มเปี่ยมก็ต้องเดินปัญญาแยกแยะได้ ให้รู้ให้เห็นทุกเรื่อง อันนี้เรื่องของกาย อันนี้เรื่องของใจ กายทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างไร ทำไมวิญญาณถึงเกิด ทำไมวิญญาณถึงหลง ความอยากความไม่อยากเป็นอย่างไร การไปการมาของใจเป็นอย่างไร ต้องชี้เหตุชี้ผล ตามดูเหตุดูผลให้ได้ทุกเรื่อง ความอยากแม้แต่นิดเดียว หรือว่าการปรุงแต่ง การเกิดแม้แต่นิดเดียว เราก็ยังไม่ให้เกิดที่ใจ
ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจของเราถึงเกิดความกลัว เราจะละความกลัว ละความอยาก ละกิเลสต่างๆ ได้ด้วยวิธีไหน แนวทางนั้นมีอยู่หมดแล้ว แต่พวกเราจะเดินให้ถึง ให้รู้ให้เห็นหรือไม่เท่านั้นเอง การละกิเลสหยาบเป็นอย่างไร ละกิเลสละเอียดเป็นอย่างไร จิตใจของเราก็จะยกระดับขั้นขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสะอาด บริสุทธิ์ จนไม่เกิด จนเข้าถึงนิพพานนั่นแหละ
เราก็ต้องพยายามวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล สิ่งพวกนี้จะไปบังคับกันไม่ได้เลย เราต้องแก้ไขตัวเรา การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ก็เพียงแค่แผนที่ ชี้แนะแนวทาง การพูดการจาก็เป็นแค่เพียงอุบาย ชี้แนะแนวทางเท่านั้น พวกท่านจงพยายามไปสังเกตไปวิเคราะห์ ไปตามดูไปรู้ไปเห็น จนละได้หมดความสงสัยได้ ท่านถึงบอกให้เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์
ท่านสอนคำว่าอัตตาเป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร หลักของอริยสัจความจริงของชีวิตเป็นอย่างไร รอบรู้ในกองสังขารในขันธ์ห้าเป็นอย่างไร การละกิเลสหยาบๆ สุด ไปหาละเอียดสุดเป็นอย่างไร วิปัสสนาญาณวิปัสสนาภูมิเป็นอย่างไร ใจที่ปราศจากกิเลส ใจที่บริสุทธิ์เป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร สติปัญญาของเราอบรมใจของเราได้ระดับไหน ตรงนี้แหละ เราก็ต้องพยายาม อย่าพากันปล่อยปละละเลย
อยู่คนเดียวถ้าเราหมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์เราก็เข้าถึง อยู่หลายคนถ้าเราหมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์เราก็เข้าถึง เข้าถึงได้หมดนั่นแหละ ตราบใดที่เรายังดำเนินอยู่ ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว อย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง
ช่วงใหม่ๆ เนี่ยกิเลสมารสารพัดอย่างที่จะมาปกปิดเอาไว้ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน เพราะว่าวิญญาณของเราก็หลงมานาน ขันธ์ห้ากับวิญญาณเขาก็รวมกันอยู่ตั้งนาน กำลังสติของเราจะแยกแยะได้ ชี้เหตุชี้ผลให้เขายอมจำนนได้ ยอมรับความเป็นจริงได้ สติปัญญาของเราต้องเต็มเปี่ยม จนกลายเป็นมหาสติ จนกลายเป็นมหาปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา ต้องรักษาเรา ใหม่ๆ ไม่มีเราก็ต้องสร้างขึ้นมาเสียก่อน
ใจของเรามีความโลภ เราพยายามละความโลภ ใจของเรามีความโกรธ เราก็พยายามละความโกรธ ใจของเรามีความอยาก เราก็พยายามละความอยาก ทำในสิ่งตรงกันข้าม คลายออกให้มันหมด ไม่ใช่ว่าจะเอาตั้งแต่ธรรม แต่ไม่รู้จักละ จักคลาย จิตใจมันก็ถึงไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นทาสของกิเลสมาตั้งนาน หมักหมมมาตั้งนาน เราก็ต้องพยายามนะ
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ทุกอิริยาบถ ทุกอิริยาบถเราต้องทำความเข้าใจให้ได้ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เมื่อรู้แล้วเห็นแล้ว ถ้ากำลังสติของเรามีเร็วไวขึ้น เขาไม่ยอมหยุดหรอก เขาต้องค้นคว้าหาความจริงให้หมดทุกอย่าง จนหมดจด หมดความสงสัยนั่นแหละเขาถึงจะหยุด ก็ต้องพยายามกัน ไม่เหลือวิสัย
สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักพักนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันนะ หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟัง
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2557
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก หายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกพวกเราก็ขาดการสร้างความรู้ตัวตรงนี้กันมากเลยทีเดียว ปล่อยปละละเลย
การรู้ลมหายใจเข้าออก สัมผัสของลมที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา ในหลักธรรมท่านเรียกว่า ‘ความรู้ตัว รู้กายของเรา’ แต่เรารู้อยู่เป็นบางช่วง ทำอย่างไรเราถึงจะรู้ให้ต่อเนื่อง ตรงนี้แหละ เราก็ต้องพยายามประคับประคอง ความพลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ จนเกิดความเคยชินจนต่อเนื่อง ถ้าเราสร้างความรู้ตัวตรงนี้ต่อเนื่อง
ส่วนการเกิดการดับของวิญญาณในกายของเรานั้นเขามีมาตั้งแต่เดิม เขาหลงมาตั้งนาน เขาจะก่อตัวปรุงแต่งส่งออกไป หรือบางทีก็มีความคิดผุดขึ้นมาโดยที่เราไม่ตั้งใจคิด ซึ่งเรียกว่า ‘อาการของขันธ์ห้า’ ผุดขึ้นมา แล้วตัววิญญาณในตัวใจของเราจะกระโดดเข้าไปรวมเลยทีเดียว จนเป็นตัวเดียวก็ไปด้วยกัน นั่นแหละเราไปอาศัยความคิดตรงนั้น ผิดก็ผิดเลย ถูกก็ถูกเลย เพราะเขาหลงอยู่ในตัวตรงนั้นอยู่
เราต้องมาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ คือความรู้สึกรับรู้นี่แหละให้ต่อเนื่อง ถ้ากำลังสติของเราต่อเนื่อง เราก็จะเห็นการก่อตัวของขันธ์ห้ากับใจเคลื่อนเข้าไปรวมกัน ถ้าเราเห็นขณะเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกันปุ๊บ ใจก็จะดีดออก เหมือนเราขึงเชือกตึงๆ แล้วเอากรรไกรไปตัด มันจะดีดออกจากกัน เหมือนกับตัดวงกลม แล้วก็ตามเห็น ใจก็จะว่าง ความรู้ตัวของเราก็ตามเห็นการเกิดการดับของอาการของความคิดเป็นเรื่องอะไร เป็นเรื่องอดีตเรื่องอนาคต เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เป็นกลางๆ เขาเรียกว่า ‘อาการของขันธ์ห้า’ นั่นแหละใจของเราไปหลงความคิดตรงนั้น ก็หลงไปหมด จนเกิดอัตตาตัวตน
ส่วนรูปกายของเรานี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้าซึ่งเป็นส่วนรูป ไอ้ส่วนนามนั่น คือ ‘ใจ’ ที่แยกออกจากความคิดแล้วตามดู แล้วเราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ถ้าแยกได้ตรงนั้น ตามดูได้ตรงนั้น ใจก็วางอัตตาตัวตนได้ ใจของเราก็จะว่าง กายก็จะเบา ทีนี้กำลังสติของเราจะค้นคว้าให้ได้ทุกเรื่องหรือไม่ ตรงนี้สำคัญ ถ้าไปปล่อยปละละเลยอีก เขาก็จะซึมสู่สภาพเดิมอีก ยิ่งยากกว่าเก่าเสียอีก
แต่การทำบุญให้ทาน การสร้างตบะสร้างบารมี ความเสียสละ ละกิเลส ศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยตรงนี้ เชื่อบุญเชื่อบาปเชื่อกรรมตรงนี้มีกันอยู่ มีกันอยู่ แต่จะให้มันเต็มที่เต็มเปี่ยมก็ต้องเดินปัญญาแยกแยะได้ ให้รู้ให้เห็นทุกเรื่อง อันนี้เรื่องของกาย อันนี้เรื่องของใจ กายทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างไร ทำไมวิญญาณถึงเกิด ทำไมวิญญาณถึงหลง ความอยากความไม่อยากเป็นอย่างไร การไปการมาของใจเป็นอย่างไร ต้องชี้เหตุชี้ผล ตามดูเหตุดูผลให้ได้ทุกเรื่อง ความอยากแม้แต่นิดเดียว หรือว่าการปรุงแต่ง การเกิดแม้แต่นิดเดียว เราก็ยังไม่ให้เกิดที่ใจ
ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจของเราถึงเกิดความกลัว เราจะละความกลัว ละความอยาก ละกิเลสต่างๆ ได้ด้วยวิธีไหน แนวทางนั้นมีอยู่หมดแล้ว แต่พวกเราจะเดินให้ถึง ให้รู้ให้เห็นหรือไม่เท่านั้นเอง การละกิเลสหยาบเป็นอย่างไร ละกิเลสละเอียดเป็นอย่างไร จิตใจของเราก็จะยกระดับขั้นขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสะอาด บริสุทธิ์ จนไม่เกิด จนเข้าถึงนิพพานนั่นแหละ
เราก็ต้องพยายามวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล สิ่งพวกนี้จะไปบังคับกันไม่ได้เลย เราต้องแก้ไขตัวเรา การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ก็เพียงแค่แผนที่ ชี้แนะแนวทาง การพูดการจาก็เป็นแค่เพียงอุบาย ชี้แนะแนวทางเท่านั้น พวกท่านจงพยายามไปสังเกตไปวิเคราะห์ ไปตามดูไปรู้ไปเห็น จนละได้หมดความสงสัยได้ ท่านถึงบอกให้เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์
ท่านสอนคำว่าอัตตาเป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร หลักของอริยสัจความจริงของชีวิตเป็นอย่างไร รอบรู้ในกองสังขารในขันธ์ห้าเป็นอย่างไร การละกิเลสหยาบๆ สุด ไปหาละเอียดสุดเป็นอย่างไร วิปัสสนาญาณวิปัสสนาภูมิเป็นอย่างไร ใจที่ปราศจากกิเลส ใจที่บริสุทธิ์เป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร สติปัญญาของเราอบรมใจของเราได้ระดับไหน ตรงนี้แหละ เราก็ต้องพยายาม อย่าพากันปล่อยปละละเลย
อยู่คนเดียวถ้าเราหมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์เราก็เข้าถึง อยู่หลายคนถ้าเราหมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์เราก็เข้าถึง เข้าถึงได้หมดนั่นแหละ ตราบใดที่เรายังดำเนินอยู่ ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว อย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง
ช่วงใหม่ๆ เนี่ยกิเลสมารสารพัดอย่างที่จะมาปกปิดเอาไว้ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน เพราะว่าวิญญาณของเราก็หลงมานาน ขันธ์ห้ากับวิญญาณเขาก็รวมกันอยู่ตั้งนาน กำลังสติของเราจะแยกแยะได้ ชี้เหตุชี้ผลให้เขายอมจำนนได้ ยอมรับความเป็นจริงได้ สติปัญญาของเราต้องเต็มเปี่ยม จนกลายเป็นมหาสติ จนกลายเป็นมหาปัญญา สติ สมาธิ ปัญญา ต้องรักษาเรา ใหม่ๆ ไม่มีเราก็ต้องสร้างขึ้นมาเสียก่อน
ใจของเรามีความโลภ เราพยายามละความโลภ ใจของเรามีความโกรธ เราก็พยายามละความโกรธ ใจของเรามีความอยาก เราก็พยายามละความอยาก ทำในสิ่งตรงกันข้าม คลายออกให้มันหมด ไม่ใช่ว่าจะเอาตั้งแต่ธรรม แต่ไม่รู้จักละ จักคลาย จิตใจมันก็ถึงไม่ได้ เพราะว่าเขาเป็นทาสของกิเลสมาตั้งนาน หมักหมมมาตั้งนาน เราก็ต้องพยายามนะ
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ทุกอิริยาบถ ทุกอิริยาบถเราต้องทำความเข้าใจให้ได้ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เมื่อรู้แล้วเห็นแล้ว ถ้ากำลังสติของเรามีเร็วไวขึ้น เขาไม่ยอมหยุดหรอก เขาต้องค้นคว้าหาความจริงให้หมดทุกอย่าง จนหมดจด หมดความสงสัยนั่นแหละเขาถึงจะหยุด ก็ต้องพยายามกัน ไม่เหลือวิสัย
สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักพักนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันนะ หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้ฟัง