หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 94 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 94 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 5 (ลำดับที่81-102)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 94
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดนึงก็ยังดี วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ถึงจะมีพันธะภาระมากมายถึงขนาดไหน เราก็พยายามหยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว
ฟังไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว อันนี้เป็นแค่เพียงอุบายนะ เป็นแค่เพียงอุบาย แล้วก็รู้จักความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ การสูดลมหายใจยาว ความรู้สึกสัมผัสเวลาลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน เราพยายามหัดสังเกต เรามีความรู้สึกรับรู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกให้เป็นธรรมชาติที่สุด แล้วก็ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ ทุกขณะลมหายใจเข้าออก เขาถึงเรียกว่าปัจจุบันธรรม ถ้าเราทำได้ชำนาญอันนี้เขาเรียกว่า ‘สติรู้ตัว รู้กาย’
ลึกลงไปอีกถ้าเรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เราก็จะเห็นการเกิดการดับของวิญญาณในกายของเรา วิญญาณในขันธ์ห้าของเรา หรือบางคนบางท่านเรียกว่าตัว ‘ใจ’ นั่นแหละ เห็นการเกิดการดับ ทำไมใจถึงเกิด ทำไมอาการของความคิดถึงผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ตรงนี้แหละสำคัญมากที่สุด ถ้าเราสังเกตทัน ใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้า คลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ พอแยกได้พอหงายได้เขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้แจ้งเห็นจริง ในคำสอนของพระพุทธองค์ทันทีเลย
สัมมาทิฏฐิ เห็นจริงเห็นถูกต้องตรงนี้ แล้วก็ตามทำความเข้าใจด้วยสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่เวลานี้กำลังสติที่เราสร้างขึ้นมานี่ มีบ้างเป็นบางครั้งบางคราว มีไม่ต่อเนื่อง กำลังไม่เพียงพอ หรือว่าเวลาเราสร้างก็ต่อเนื่องอยู่ เวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถทำโน่นทำนี่ก็เลยลืมไปหมดเลย ใหม่ๆ นี่ท่านถึงบอกสวน ทวนกระแสกิเลส เรามาฝึก มาสำรวจ มาทำความเข้าใจ ตามดูรู้เห็นหมั่นอบรมใจ พร่ำสอนใจของเราให้รู้ทุกเรื่อง
กายของเรานี่ประกอบขึ้นมาด้วยขันธ์ทั้งห้า ที่พากันสวดพากันท่องอยู่ทุกวัน ว่าเป็นก้อนทุกข์ อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม เรามาคลายภายในของเราให้มันจบ เราบริหารสมมติด้วยปัญญาล้วนๆ อยู่กับสมมติ ถึงวาระเวลาก็ต้องได้วางสมมติ ให้เราวางทางด้านจิตใจ แต่ให้รับผิดชอบด้วยปัญญาให้ได้เสียก่อน ไม่เหลือวิสัยหรอก เราพยายามทำของยากให้เป็นของง่าย จากของง่ายก็ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก อาศัยความเพียรที่ถูกต้อง อาศัยแนวทาง คำสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมาตั้งนาน อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ว่าไม่มีเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิต
การฝึกหัดปฏิบัติธรรม ก็คือปฏิบัติกาย ปฏิบัติวาจา ปฏิบัติใจของเราให้ถูกต้อง แล้วทำหน้าที่ของสมมติให้ถูกต้อง นั่นแหละท่านถึงเรียกว่า ‘ปฏิบัติธรรม’ ไม่ใช่ว่าหนี เราทำความเข้าใจแล้วก็อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ วางสมมติที่ใจของตัวเราเอง แม้แต่การเกิดของใจเราก็ต้องดับไม่ให้เกิด เพียงแค่การเกิดนั่นเขาก็ยังหลงอยู่ ถึงไม่ได้ยึด เขาก็ยังหลงอยู่
เรามาดับความเกิด ใจไม่เกิด ใจไม่มีกิเลส เขาก็ว่าง เขาก็โล่ง เขาก็โปร่ง เขาก็สะอาด เขาก็บริสุทธิ์ แล้วก็วางใจให้เป็นอิสรภาพอีก อิสรภาพจากการเกิด จากกิเลส จากความยึดมั่นถือมั่น เขามีเป็นชั้น เป็นขั้น เป็นตอนอยู่ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ไม่มีเวลา ไม่มีวาสนา ทุกคนมีวาสนาเหมือนกันหมด มีบุญเหมือนกันหมด ใจนี่ฝักใฝ่ในบุญ แต่การเกิดการดิ้นรนนี่ไปทั้งก้อน ไปทั้งดวง
การเกิดของใจ ความคิด อารมณ์ต่างๆ เราต้องมาสร้างผู้รู้ ใจนั้นเป็นธาตุรู้ แต่ก็ยังหลงอยู่ หลงเกิดอยู่ หลงมาสร้างภพมาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเองอยู่ แล้วก็มาหลงในโลกธรรม มาปิดกั้นตัวเอง มาเป็นทาสของกิเลสอยู่ เราก็ต้องพยายามเจริญตบะบารมี ใจเกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่นก็พยายามละ เรามีความเกียจคร้านเราก็สร้างความขยันหมั่นเพียร อย่าไปโทษคนโน้น อย่าไปโทษคนนี้ ที่นั่นเป็นอย่างนั้น ที่นี่เป็นอย่างนี้ ใจของเรามันเกิดเอง เราพยายามแก้ไขที่ใจของเรา ดับที่ใจของเรา เอาเรื่องของเราให้มันจบ ทำหน้าที่ของเราให้มันดี จะมีมากมีน้อย มันก็ไม่มีปัญหา ถ้าคนรู้จักแก้ไขตัวเราเอง
ถ้าไม่รู้จักแก้ไขตัวเราแล้ว อยู่คนเดียวก็ทุกข์ อยู่หลายคนก็ทุกข์ แบกความทุกข์ อัตภาพร่างกายขันธ์ห้าไปให้คนโน้นเขารับผิดชอบ คนนี้เขารับผิดชอบ แม้แต่ตัวเราเองยังรับผิดชอบตัวเราไม่ได้ จะไปเที่ยวให้คนอื่นเขารับผิดชอบได้ยังไง เราก็ต้องพยายามแก้ไข ดู รู้ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นจนล้นออกไปสร้างความสงบความสุขให้กับทุกคนได้ พยายามเอา ทำได้เท่าไหร่เราก็ทำ อย่าไปเกียจคร้าน อย่าไปปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา
บุคคลที่มีปัญญา บุคคลที่มีบุญ ฟังนิดเดียว กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การฝึกหัดปฏิบัติไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นเขารู้ เรารู้เราก็พอแล้ว ว่าขณะนี้ใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ ใจของเรามีความสุข ผิดพลาดอย่างไรเรารีบแก้ไข ดับวางอยู่ปัจจุบัน รู้เห็นอยู่ปัจจุบัน จนเป็นปัญญารู้อยู่ปัจจุบัน รู้ภายในกระจ่าง วางให้มันได้ ชี้เหตุชี้ผล จนใจยอมรับความเป็นจริงได้นั่นแหละ เขาถึงจะปล่อยจะวางได้
คำสอนมีมาตั้งนานแล้ว เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะสร้างให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจได้ต่อเนื่อง ได้เห็นจนหมดจดหรือไม่เท่านั้นเอง ส่วนมากก็เดินกระโผลกกระเผลก ขึ้นๆ ลงๆ ลงๆ ขึ้นๆ ไม่ยอมให้ถึงจุดหมายปลายทาง มันก็เลยไม่แน่นอน ก็ต้องพยายาม
ท่านถึงว่าไม่เที่ยง ขันธ์ห้าไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ตราบใดวิญญาณที่ยังเกิดอยู่ ถ้าเราดับความเกิด คลายความหลงได้ นั่นแหละท่านถึงว่าเที่ยง จิตเที่ยง ธรรมเที่ยง นิพพานเที่ยง ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจต่อกันเอานะ
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดนึงก็ยังดี วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ถึงจะมีพันธะภาระมากมายถึงขนาดไหน เราก็พยายามหยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว
ฟังไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว อันนี้เป็นแค่เพียงอุบายนะ เป็นแค่เพียงอุบาย แล้วก็รู้จักความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ การสูดลมหายใจยาว ความรู้สึกสัมผัสเวลาลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน เราพยายามหัดสังเกต เรามีความรู้สึกรับรู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกให้เป็นธรรมชาติที่สุด แล้วก็ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ ทุกขณะลมหายใจเข้าออก เขาถึงเรียกว่าปัจจุบันธรรม ถ้าเราทำได้ชำนาญอันนี้เขาเรียกว่า ‘สติรู้ตัว รู้กาย’
ลึกลงไปอีกถ้าเรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เราก็จะเห็นการเกิดการดับของวิญญาณในกายของเรา วิญญาณในขันธ์ห้าของเรา หรือบางคนบางท่านเรียกว่าตัว ‘ใจ’ นั่นแหละ เห็นการเกิดการดับ ทำไมใจถึงเกิด ทำไมอาการของความคิดถึงผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ตรงนี้แหละสำคัญมากที่สุด ถ้าเราสังเกตทัน ใจของเราคลายออกจากขันธ์ห้า คลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ พอแยกได้พอหงายได้เขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้แจ้งเห็นจริง ในคำสอนของพระพุทธองค์ทันทีเลย
สัมมาทิฏฐิ เห็นจริงเห็นถูกต้องตรงนี้ แล้วก็ตามทำความเข้าใจด้วยสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่เวลานี้กำลังสติที่เราสร้างขึ้นมานี่ มีบ้างเป็นบางครั้งบางคราว มีไม่ต่อเนื่อง กำลังไม่เพียงพอ หรือว่าเวลาเราสร้างก็ต่อเนื่องอยู่ เวลาจะเปลี่ยนอิริยาบถทำโน่นทำนี่ก็เลยลืมไปหมดเลย ใหม่ๆ นี่ท่านถึงบอกสวน ทวนกระแสกิเลส เรามาฝึก มาสำรวจ มาทำความเข้าใจ ตามดูรู้เห็นหมั่นอบรมใจ พร่ำสอนใจของเราให้รู้ทุกเรื่อง
กายของเรานี่ประกอบขึ้นมาด้วยขันธ์ทั้งห้า ที่พากันสวดพากันท่องอยู่ทุกวัน ว่าเป็นก้อนทุกข์ อะไรคือส่วนรูป อะไรคือส่วนนาม เรามาคลายภายในของเราให้มันจบ เราบริหารสมมติด้วยปัญญาล้วนๆ อยู่กับสมมติ ถึงวาระเวลาก็ต้องได้วางสมมติ ให้เราวางทางด้านจิตใจ แต่ให้รับผิดชอบด้วยปัญญาให้ได้เสียก่อน ไม่เหลือวิสัยหรอก เราพยายามทำของยากให้เป็นของง่าย จากของง่ายก็ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก อาศัยความเพียรที่ถูกต้อง อาศัยแนวทาง คำสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมาตั้งนาน อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ว่าไม่มีเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิต
การฝึกหัดปฏิบัติธรรม ก็คือปฏิบัติกาย ปฏิบัติวาจา ปฏิบัติใจของเราให้ถูกต้อง แล้วทำหน้าที่ของสมมติให้ถูกต้อง นั่นแหละท่านถึงเรียกว่า ‘ปฏิบัติธรรม’ ไม่ใช่ว่าหนี เราทำความเข้าใจแล้วก็อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ วางสมมติที่ใจของตัวเราเอง แม้แต่การเกิดของใจเราก็ต้องดับไม่ให้เกิด เพียงแค่การเกิดนั่นเขาก็ยังหลงอยู่ ถึงไม่ได้ยึด เขาก็ยังหลงอยู่
เรามาดับความเกิด ใจไม่เกิด ใจไม่มีกิเลส เขาก็ว่าง เขาก็โล่ง เขาก็โปร่ง เขาก็สะอาด เขาก็บริสุทธิ์ แล้วก็วางใจให้เป็นอิสรภาพอีก อิสรภาพจากการเกิด จากกิเลส จากความยึดมั่นถือมั่น เขามีเป็นชั้น เป็นขั้น เป็นตอนอยู่ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ไม่มีเวลา ไม่มีวาสนา ทุกคนมีวาสนาเหมือนกันหมด มีบุญเหมือนกันหมด ใจนี่ฝักใฝ่ในบุญ แต่การเกิดการดิ้นรนนี่ไปทั้งก้อน ไปทั้งดวง
การเกิดของใจ ความคิด อารมณ์ต่างๆ เราต้องมาสร้างผู้รู้ ใจนั้นเป็นธาตุรู้ แต่ก็ยังหลงอยู่ หลงเกิดอยู่ หลงมาสร้างภพมาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเองอยู่ แล้วก็มาหลงในโลกธรรม มาปิดกั้นตัวเอง มาเป็นทาสของกิเลสอยู่ เราก็ต้องพยายามเจริญตบะบารมี ใจเกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่นก็พยายามละ เรามีความเกียจคร้านเราก็สร้างความขยันหมั่นเพียร อย่าไปโทษคนโน้น อย่าไปโทษคนนี้ ที่นั่นเป็นอย่างนั้น ที่นี่เป็นอย่างนี้ ใจของเรามันเกิดเอง เราพยายามแก้ไขที่ใจของเรา ดับที่ใจของเรา เอาเรื่องของเราให้มันจบ ทำหน้าที่ของเราให้มันดี จะมีมากมีน้อย มันก็ไม่มีปัญหา ถ้าคนรู้จักแก้ไขตัวเราเอง
ถ้าไม่รู้จักแก้ไขตัวเราแล้ว อยู่คนเดียวก็ทุกข์ อยู่หลายคนก็ทุกข์ แบกความทุกข์ อัตภาพร่างกายขันธ์ห้าไปให้คนโน้นเขารับผิดชอบ คนนี้เขารับผิดชอบ แม้แต่ตัวเราเองยังรับผิดชอบตัวเราไม่ได้ จะไปเที่ยวให้คนอื่นเขารับผิดชอบได้ยังไง เราก็ต้องพยายามแก้ไข ดู รู้ บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นจนล้นออกไปสร้างความสงบความสุขให้กับทุกคนได้ พยายามเอา ทำได้เท่าไหร่เราก็ทำ อย่าไปเกียจคร้าน อย่าไปปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา
บุคคลที่มีปัญญา บุคคลที่มีบุญ ฟังนิดเดียว กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การฝึกหัดปฏิบัติไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นเขารู้ เรารู้เราก็พอแล้ว ว่าขณะนี้ใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ ใจของเรามีความสุข ผิดพลาดอย่างไรเรารีบแก้ไข ดับวางอยู่ปัจจุบัน รู้เห็นอยู่ปัจจุบัน จนเป็นปัญญารู้อยู่ปัจจุบัน รู้ภายในกระจ่าง วางให้มันได้ ชี้เหตุชี้ผล จนใจยอมรับความเป็นจริงได้นั่นแหละ เขาถึงจะปล่อยจะวางได้
คำสอนมีมาตั้งนานแล้ว เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะสร้างให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจได้ต่อเนื่อง ได้เห็นจนหมดจดหรือไม่เท่านั้นเอง ส่วนมากก็เดินกระโผลกกระเผลก ขึ้นๆ ลงๆ ลงๆ ขึ้นๆ ไม่ยอมให้ถึงจุดหมายปลายทาง มันก็เลยไม่แน่นอน ก็ต้องพยายาม
ท่านถึงว่าไม่เที่ยง ขันธ์ห้าไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ตราบใดวิญญาณที่ยังเกิดอยู่ ถ้าเราดับความเกิด คลายความหลงได้ นั่นแหละท่านถึงว่าเที่ยง จิตเที่ยง ธรรมเที่ยง นิพพานเที่ยง ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจต่อกันเอานะ